การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่จากสารสกัดในเปลือกทุเรียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ผาณิตา อินทเชื้อ, วาศิณี จำปี, กวีพนธ์ อินทสมบัติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิราภรณ์ สมฤดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่จากสารสกัดในเปลือกทุเรียนจัดทาข้ึนเพื่อศึกษาจัดการ เกี่ยวกบัขยะจากเปลือกทุเรียนซึ่งเป็นของเสียทางการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสาร ฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดเปลือกทุเรียนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่และตรวจสอบลักษณะทางกายภาพและ ทางเคมีของสบู่ เพื่อกำจัดขยะจากเปลือกทุเรียนโดยจัดทำกระถางเพาะชำชีวภาพย่อยสลายได้จากเส้นใย เปลือกทุเรียนผสมกากชา ผลการศึกษาคร้ังน้ี พบว่า สารฟินอลิค ได้จากการนำเปลือกทุเรียนไปล้างทำความ สะอาดแช่ด้วยเอทานอลนาสารสกัดเปลือกทุเรียนที่ได้มากรองด้วยกระดาษกรองแล้วนำสารสกัดเข้าเครื่อง กลั่นระเหยสารแบบหมุนพร้อมอุปกรณ์ (Rotary evaporation) เพื่อระเหยเอทานอลออกจะได้สารสกัดจาก เปลือกทุเรียนสีน้ำตาลเข้มเหนียวหนืดส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่มีส่วนประกอบและอัตราส่วนร้อยละ ระหว่าง RO water , NaOH , coconut oils , Frangrance , สารฟินอลิก เท่ากับ 24:10:64:1.90:0.1 สามารถ จัดทำผลิตภัณฑ์สบู่ได้เป็นอย่างดีและการตรวจสอบความพึงพอใจผลิตภัณฑ์สบู่ปรากฏว่าไดรับความพึง พอใจด้านประสิทธิภาพในการทำความสะอาด รองลงมาคือ ความอ่อนโยนต่อผิว ส่วนการจัดทำกระถาง เพาะชำชีวภาพย่อยสลายได้จากเส้นใยเปลือกทุเรียนผสมกากชาอัตราส่วนร้อยละระหว่างเปลือกทุเรียนกากชาและแป้งมัน คือ50:30:20สามารถข้ึนรูปกระถางได้ดีมีความทนทานผิวเรียบแน่นสีนำ้ตาลผสมดำ
จากการศึกษาการพัฒนาผลิตภัฒฑ์สบู่จากสารสกัดในเปลือกทุเรียนโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่และ ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของสบู่ พบว่า สารฟินอลิกที่สกัดได้จากเปลือกทุเรียน มี คุณสมบัติมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดความอ่อนโยนต่อผิวความชุ่มชื้นหลังการใช้งานมีความ สะดวกในการใช้ผลิตภัณฑ์สบู่และในการกำจัดขยะจากเปลือกทุเรียนโดยจักทำกระถางเพาะชำชีวภาพย่อย สลายได้จากเส้นใยเปลือกทุเรียนผสมกากชา สามารถกำจัดขยะเปลือกทุเรียนได้เป็นอย่างดี สามารถ แก้ปัญหาได้อย่างครบวงจร