การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการวางไข่ของยุงกับสภาพปัจจัย บริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วรัทยา อุ่นอ่อน, อาภัสรา ภูฆัง, วรภร วงศ์วราศัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นริศตา ด้วงต้อย, พิมพ์รดา เพิ่มพูล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสงวนหญิง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการวางไข่ของยุงกับสภาพปัจจัยบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี มีขอบเขตของพื้นที่การศึกษา คือ พื้นที่ชุมชนเมืองของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 7 ตำบล ได้แก่ ท่าพี่เลี้ยง สนามชัย ไผ่ขวาง ท่าระหัด รั้วใหญ่ สวนแตง และโคกโคเฒ่า ทั้งหมดจำนวน 100 หลังคาเรือน โดยสำรวจแบบ Single-Larva method และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ดัชนีค่าความชุกชุม HI, CI และ BI และใช้สถิติค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ความชุกชุมของลูกน้ำยุงแต่ละชนิดในพื้นที่ชุมชนเมืองของจังหวัดสุพรรณบุรี มีลูกน้ำยุงจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ยุงลายบ้าน (Ae. aegypti) 44 ตัวยุงลายสวน (Ae.albopictus) 268 ตัว ยุงรำคาญ (Culex spp.) 19 ตัว ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) 18 ตัว และ ยุงยักษ์(Toxorhynchites spp.) 1 ตัว โดยเมื่อเทียบกับการแปลค่าดัชนีลูกน้ำยุงของกรมควบคุมโรค พบว่า ค่า HI ค่า CI ค่า และค่า BI ของพื้นที่ชุมชนเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีทุกตำบล อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่โรค ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาชนะกับการพบลูกน้ำยุง จะพบมากในภาชนะ ประเภทพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 35.83 รองลงมาคือ ดินเผา คิดเป็นร้อยละ 23.33 และ ยาง คิดเป็นร้อยละ 19.17 ปริมาณน้ำในภาชนะที่พบลูกน้ำยุงมาก คือ ระดับน้ำ 50-75 คิดเป็นร้อยละ 44.89 และ ส่วนใหญ่พบลูกน้ำยุงในภาชนะที่มีสีเข้ม คิดเป็นร้อยละ 70.41 ส่วนการจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยและการกำจัดยุงของพื้นที่ชุมชนเมืองในภาพรวม มีความถี่ในการทำความสะอาดภาชนะ คือ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 54.76 และไม่ทำความสะอาด คิดเป็นร้อยละ 45.24 มีการกำจัดขยะ คิดเป็นร้อยละ 96.43 และไม่มีการกำจัด คิดเป็นร้อยละ3.57 และการกำจัดลูกน้ำยุง พบว่าส่วนใหญ่ใช้ สารเคมี รองลงมาคือ พ่นหมอก ไฟฟ้าดัก และ กระชอนตัก คิดเป็นร้อยละ 50, 27.36, 12.26 และ 10.38 ตามลำดับ