พอลิเมอร์ชีวภาพจากสารสกัดเจลาตินจากเกล็ดปลาทับทิมเพื่อพัฒนาเป็นแผ่นแปะสิว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัญ​จิ​รา​ คล้ายผูก, วรรณพร ภู่กันงาม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เกล็ดปลา เป็นของเหลือจากการนำเนื้อปลาไปประกอบอาหาร ถ้าเก็บไว้หรือทิ้งไว้ในสภาพสด ๆจะมีกลิ่นเหม็นสกปรกถูกทิ้งและกลายเป็นเศษขยะ เป็นแหล่งเชื้อโรค นำเกล็ดปลามาสกัดจะได้เจลาตินถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเกล็ดปลา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำเกล็ดปลาทับทิมและเหลือจากการใช้งานมาผลิตเป็นพอลิเมอร์ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อ โดยทำการสกัดเจลาติน ตอนที่ 1 ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเจลาตินพบว่า การสกัดโดยใช้กรดไฮโดรคลอริกระดับความเข้มข้น 1.2 mol/dm3 และอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 45 นาที ซึ่งจะได้ปริมาณเจลาตินถึง 4.249± 0.05 กรัม โดยเจลาตินที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียว เมื่อนำไปผ่านกระบวนการทำให้เป็นผงจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว ผลการศึกษาคุณสมบัติบางประการของเจลาตินที่สกัดจากเกล็ดปลา ด้วยวิธีการตรวจสอบด้วยการ FTIR เราพบว่าเจลาตินจากเกล็ดปลาทับทิมมีสมบัติคล้ายคลึงกับเจลาตินมาตรฐานโดยมีหมู่ฟังก์ชันเกิดพีกของ O-H stretching, C-H stretching และหมู่ฟังก์ชัน C-N stretching และศึกษาการขึ้นรูปเจลาตินจากเกล็ดปลาเป็นฟิล์มพอลิเมอร์และผลการตรวจสอบคุณลักษณะบางประการ พบว่า สารผสมของเจลาตินระดับความเข้มข้น 2% กลีเซอรีน 1 มิลลิลิตร และโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสระดับความเข้มข้น 3% โดยฟิล์มพอลิเมอร์ที่ได้มีความยืดหยุ่นเล็กน้อย สามารถแกะออกจากจานเพาะเชื้อได้ง่าย ขาดได้ยากเพราะมีการใส่พลาสติกไซเซอร์ซึ่งคือ กลีเซอรีนและโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสในปริมาณที่เหมาะสม กลีเซอรีนทำหน้าที่ให้ฟิล์มพอลิเมอร์มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถขาดได้ง่าย