ศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารก่อมลพิษและฝุ่นละอองในอากาศโดยถ่านกัมมันต์จากเปลือกของผลจากเพื่อผลิตแผ่นกรองอากาศ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุปัญญา ธรรมนิยม, อรจิรา วัฒนานิล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา เชาวลิต, นภวรรณ มัณยานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันประเทศไทยมีการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศและสารก่อมลพิษที่ระเหยได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องการใช้ชีวิตและปัญหาทางด้านสุขภาพ คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการผลิตแผ่นกรองอากาศโดยใช้ถ่านกัมมันต์จากเปลือกของผลจากในการผลิต เนื่องจากผลจากสามารถหาได้ง่ายในภาคใต้ของประเทศไทยและเปลือกของผลจากมีปริมาณคาร์บอนสูงจึงเหมาะแก่การนำมาผลิตถ่านกัมมันต์ ซึ่งการผลิตถ่านกัมมันต์ใช้วิธี Hydrothermal Carbonization (HTC) โดยใช้ความร้อนร่วมกับน้ำในการผลิตซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับของถ่านกัมมันต์ที่ปริมาตรรูพรุนและการกระตุ้นทางเคมีที่ต่างกันโดยใช้แก๊สแอมโมเนียเป็นตัวอย่างของสารก่อมลพิษที่ระเหยได้ง่ายในการทดลอง เพื่อหาประสิทธิภาพการดูดซับแก๊สที่เหมาะสมในการนำมาผลิตแผ่นกรองอากาศ ซึ่งสามารถศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับได้จากจลนพลศาสตร์การดูดซับ ทฤษฎีการดูดซับของ BET และไอโซเทอมของการดูดซับ