การเพาะเลี้ยงแตนเบียนบราคอน ฮีบิเตอร์(B. hebeter Say) เพื่อกำจัดและลดจำนวนหนอนหัวดำมะพร้าว (O. arenosella Walker) โดยสภาวะและปริมาณน้ำผึ้งที่เหมาะสม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริภัทร วงศ์จอม, ณัฐกาญจน์ รุญเจริญ, ศุภิสรา กุแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ เป็นการเพาะเลี้ยงแตนเบียนบราคอน ฮีบิเตอร์เพื่อกำจัดและลดจำนวนหนอนหัวดำมะพร้าว ด้วยสภาวะและปริมาณน้ำผึ้งที่เหมาะสม เพื่อให้แตนเบียนมีประสิทธิภาพในการกำจัดและลดจำนวนหนอนหัวดำมะพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงแตนเบียนให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว
วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาทางชีวภาพของแตนเบียน สภาพอากาศที่เหมาะสม การให้น้ำผึ้งต่อวันในปริมาณที่แตกต่างกันมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต น้ำหนักแห้ง และความสามารถในการกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวต่างกันเพื่อหาปริมาณที่เหมาะสม การผสมพันธุ์ของแตนเบียนและการศึกษาทางชีวภาพของหนอนหัวดำมะพร้าว การระบาดและการทำลายในแต่ละพื้นที่ของหนอนหัวดำมะพร้าว เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาการเพาะเลี้ยงแตนเบียนให้มีความแข็งแรง อายุยืนและมีสภาวะที่เหมาะสม เมื่อปล่อยสู่ธรรมชาติจะสามารถกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวได้จำนวนมาก
ผลการศึกษาพบว่า การเพาะแตนเบียนที่มีประสิทธิภาพ สภาวะที่ดี และ การให้น้ำผึ้งต่อวันในปริมาณที่แตกต่างกันมีผลต่อการเจริญเติบโตของแตนเบียน เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมกับแตนเบียนให้มีความแข็งแรงและอายุยืน เมื่อปล่อยสู่ธรรมชาติจะพร้อมกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวที่อยู่ตามธรรมชาติได้เป็นจำนวนมากและตัวแตนเบียนมีชีวิตได้นานขึ้นเพื่อกำจัดหนอนรุ่นถัดไปได้