การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมการเกิดโรครากขาวในยางพารา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ดียาน่า เหมหีม, ธนศักดิ์ ชนม์เรืองฉาย, ปิ่นวดี บุญภิรมย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เอมวิกา จิตโสภา, ภิญโญ ยลธรรม์ธรรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและทดสอบประสิทธิภาพของการใช้เชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Rigidoporus microporus ของโรคที่โรครากขาว เพื่อรักษาหรือป้องกันไม่ให้ต้นยางพาราตายหรือมีผลผลิตที่ลดลง โดยเราจะใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ที่เลี้ยงด้วยการให้อาหารเพาะเชื้อ PDA มาทดสอบกับต้นยางพาราที่ยังอายุน้อยที่มีเชื้อราโรครากขาวอยู่ ผลการศึกษาพบว่าเชื้อรา Trichoderma spp สามารถสร้างปฏิชีวนะสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา R.microporus โดยเชื้อรานี้เป็นเชื้อราที่ทำความเสียหายรุนแรงต่อยางพาราอายุ 1 ปีขึ้นไป เชื้อราจะเข้าทำลายราก โดยใช้เอนไซม์ปล่อยออกนอกเซลล์ เช่น เซลลูเลส เฮมิเซลลูเลส ที่สามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้ อาการที่พบคือ สีของใบยางพาราจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในระยะแรก อาการเหลืองจะเกิดที่บริเวณกิ่งหลังจากนั้นจะลุกลามจนอาการเหลืองของใบเกิดทั้งต้นและตายในที่สุด และในการเก็บตัวอย่างรากยางพาราที่เป็นโรครากขาว คณะผู้จัดทำได้เลือกใช้วิธีการเก็บตัวเชื้อรากขาวมาเลี้ยง ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อPDA และวิธีการที่ใช้เลี้ยงเชื้อรา Tricoderma spp. ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการเลี้ยงเชื้อด้วยวิธีการทั้งหมดสองวิธี คือการเพาะเลี้ยงในน้ำ และเพาะเลี้ยงไว้ในข้าว โดย การเพาะเลี้ยงในน้ำจะใช้น้ำปริมาณ 4 ลิตร , น้ำตาลอีก 1 กิโลกรัม และหัวเชื้อ 1 ส่วน ต่อ น้ำ 4ลิตร แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้พร้อมใช้งาน ส่วนการเลี้ยงเชื้อรา Tricoderma spp, ในข้าวจะใช้ข้าวปริมาณ 500 กรัม และหัวเชื้อ 1 ส่วน แล้วทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 4-6 วัน เพื่อให้พร้อมใช้งาน ผลการการศึกษา พบว่าปริมาณของเชื้อรา R. microporus มีปริมาณลดลงอย่างมาก เนื่องจากเชื้อรา Tricoderma spp. สามารถสร้างปฏิชีวนะสาร (antibiotics) เพื่อยับยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคจนเกิดการสลายตัวและตายได้ หรือเข้าไปเป็นปรสิตของเชื้อนั้น ซึ่งทำให้เชื้อรา R. microporus เกิดการสลายตัวหรือขาดอาหารตายไปจนมีปริมาณที่ลดน้อยลง