การพัฒนาวัสดุดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนของถ่านกัมมันต์จากผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภีรยา ทัตตานนท์, ธมกร กิติทรัพย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ประจักษ์ เกษมรักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
สารโทลูอีน (Toluene) ถูกนำมาใช้งานในด้านอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพด้านโรงงานหรือภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีโอกาสรับสัมผัสไอระเหยสารโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายได้สูง หากสารโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสารโทลูอีนสามารถดูดซึมได้รวดเร็วมากทางปอด หากอยู่ในพื้นที่ปิดหรือมีการระบายอากาศที่ไม่ดี จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพโรงงานหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ขาดออกซิเจนและระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการพัฒนาวัสดุดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนของถ่านกัมมันต์จากผักตบชวาเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยการนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชทำลายระบบนิเวศในแหล่งน้ำ มาเป็นองค์ประกอบหลักของวัสดุดูดซับ เนื่องจากส่วนของใบผักตบชวามีคุณสมบัติในการกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียดและจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก นอกจากนี้ยังช่วยสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย โดยคณะผู้จัดทำจะทำการนำผักตบชวาไปแปลงเป็นถ่านกัมมันต์ เพื่อทำให้เกิดโครงสร้างที่มีรูพรุนจำนวนมาก ส่งผลให้มีพื้นที่ผิวภายในเพิ่มมากขึ้น จึงกลายเป็นวัสดุพิเศษที่มีความสามารถในการดูดซับสูงและนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ อย่างหลากหลาย