การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตัวดูดซับน้ำมันด้วยวัสดุธรรมชาติในแหล่งน้ำชุมชน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริยากร ศิลาซาง, วรรณิศา ยืนธรรม, นันธ์นภัส กมลาสน์นิติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อ้อยใจ ทิพย์เนตร, ทองเพียร สิงห์ชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำมันและไขมัน ที่เจือปนในแหล่งน้ำซึ่งมาจากน้ำทิ้งชุมชน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำ อีกทั้ง
อาจส่งผลให้เกิดน้ำเสีย การนำวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ดอกธูปฤาษี ผักตบชวา และชานอ้อย ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำมันและไขมันดังกล่าว เป็นวิธีการที่ช่วยบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาโครงงานจึงสนใจที่จะนำวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่ กาบต้นกล้วย และก้านใบบอน มาทำการดูดซับน้ำมันและไขมันในน้ำเสียที่ดำเนินการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ แล้วนำวัสดุดูดซับที่ได้ไปทำการอัดแท่ง ด้วยวิธีอัดเปียก เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง จากนั้นดำเนินการ 1) วิเคราะห์หาลักษณะเฉพาะทางกายภาพของถ่านอัดแท่งที่ได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ค่าพลังงานความร้อน ค่าความชื้น ค่าคาร์บอนคงตัว ค่าดัชนีการแตกร่วนเมื่อตกจากที่สูง และ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งานความร้อนของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตัวดูดซับน้ำมันกับเชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถช่วยแก้ปัญหาทรพยากรป่าไม้ในประเทศที่มีปริมาณลดลง ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าของวัสดุทางธรรมชาติที่ได้ผลดีประการหนึ่ง