การศึกษาและพัฒนาปุ๋ยมูลไส้เดือนดินเพิ่มธาตุอาหารด้วยแหนแดง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิชารีย์ จิตรชวาล, วิรัลพัชร ตั้งเคี้ยน, ชญานิศ พิชัยรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาวิณา หะเทศ, ชญากานต์ จิตเอื้อเฟื้อ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาและพัฒนาปุ๋ยมูลไส้เดือนดินเพิ่มธาตุอาหารด้วยแหนแดง โดยศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร A อาหารสูตร B อาหารสูตร C และอาหารสูตร D และเปรียบเทียบประสิทธิภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร A อาหารสูตร B อาหารสูตร C และอาหารสูตร D ด้วยวัดการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน ทำการศึกษาโดยทำสูตรอาหารไส้เดือนดิน อาหารสูตร A มูลวัว 3.5 กิโลกรัม อาหารสูตร B มูลวัว 3.5 กิโลกรัม นำแหนแดงสดใส่ 0.5 กิโลกรัม อาหารสูตร C มูลวัว 3.5 กิโลกรัมต่อแหนแดง 1.0 กิโลกรัม และอาหารสูตร D มูลวัว 3.5 กิโลกรัมต่อแหนแดง 1.5 กิโลกรัม แล้วนำไส้เดือนดินใส่ในกระบะที่เตรียมไว้กระบะละ 500 กรัม โดยวัดความชื้นพร้อมบันทึกผลทุกสัปดาห์ ภายในระยะเวลา 25 – 30 วัน แล้วส่งตรวจคุณภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน จากนั้นนำปุ๋ยที่ได้ไปทดลองปลูกต้นอ่อนทานตะวัน พบว่า ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร C มีปริมาณธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด และปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร C ทำให้ต้นอ่อนทานตะวันเจริญเติบโตมากที่สุดโดยวัดจากค่าเฉลี่ย ความสูง จำนวนใบ น้ำหนักและน้ำหนักแห้ง เมื่อเทียบกับปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร A อาหารสูตร B และอาหารสูตร D