การศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสัมผัสทางเคมีของ Caenorhabditis elegans เพื่อระบุตัวบ่งชี้ทางชีวภาพจากซีบัมสำหรับการตรวจคัดกรองโรคพาร์กินสันระยะเริ่มต้น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฆนัท บุญจง, สิรภัทร แจ่มมี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนวรรณ ลี้บุญงาม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรคพาร์กินสันเป็นโรคของความเสื่อมทางระบบประสาทท่ีพบได้บ่อยโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น อาการเคลื่อนไหวช้า แข็งเกร็ง ปัญหาเรื่องการ ทรงตัว และอาการสั่นซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งในปัจจุบันการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่ใช้การสังเกตุอาการ โดยวิธีดังกล่าวจะใช้ตรวจได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะแรกของโรคแล้ว นอกจากนี้ยังมีการตรวจเลือดและการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ซึ่งเป็นวิธีที่อาศัยการใส่เครื่องมือหรือเจาะเลือดจากผู้ป่วยและมีราคาแพง การตรวจคัดกรองโรคนี้จึงเข้าถึงได้ยากโดยผู้ป่วยในระดับชุมชน
ดังนั้นทางทีมผู้พัฒนาจึงสนใจศึกษาการใช้ความสามารถในการรับรู้สัมผัสทางเคมี โดยเฉพาะการรับรู้กลิ่น และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจของ Caenorhabditis elegans ในการระบุตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับโรคพาร์กินสันที่พบในซีบัม ซึ่งพบได้ในผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันที่ยังไม่มีการแสดงอาการ รวมถึงทดสอบความแม่นยำและความไวต่อการตอบสนองแบบ chemotaxis ต่อแต่ละความเข้นข้นของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในซีบัมสังเคราะห์