การพัฒนากระติบข้าวในการกักเก็บพลังงานด้วยขี้ซีที่มีตามชนบท

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิลัยลักษณ์ จันทรังษี, อภิชญา ปฐมัง ปฐมัง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เสาวรจนี จันทวงค์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยผู้คนส่วนใหญ่รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ข้าวเหนียวเมื่อสุกแล้วจะมีภาชนะใส่เพื่อกักเก็บอุณหภูมิไว้ก็คือ กระติบข้าว ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ เนื่องจากกระติบข้าวสานด้วยไม้ไผ่ทำให้มีรูช่องว่างทำให้เมื่อนำข้าวเหนียวที่หุงสุกใส่เก็บไว้จะทำให้ความร้อนระบายออกมาทางรูของไม้ไผ่ ข้าวเหนียวจะเย็นลงทำให้มีลักษณะแข้งกระด้างเมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะพัฒนากระติบข้าวในการกักเก็บพลังงานความร้อนด้วยขี้ซีที่มีตามชนบท ซึ่งขี้ซีมีลักษณะเป็นยางไม้เหนียว หาง่าย ตามท้องถิ่น สามารถนำมาทาเพื่ออุดรูระบายอากาศของกระติบข้าวได้

ซึ่งเราจะมีวิธีการทดลองดังนี้ เราจะนำขี้ซี(ยางไม้)ที่เป็นก้อนมาบดให้เป็นผง จากนั้นนำมาผสมกับตัวประสานอัตราส่วน 2:1 คนให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำกระติบข้าวมา 2 อัน อันแรกจะเคลือบด้วยขี้ซีที่ผสมไว้แล้วนำไปตากแห้งเป็นเวลา 1 วัน จากนั้นนำกระติบข้าวที่เคลือบขี้ซีไว้และกระติบข้าวธรรมดา โดยใช้ระบบปิดเพื่อป้องกันพลังงานจากสิ่งเเวดล้อมเข้ามา คือการเจาะฝาบนหัวกระติบข้าวให้เป็นรู้ที่พอเหมาะสำหรับเสียบเทอร์โมมิเตอร์ นำผ้าข้าวบางมารองตรงก้นของกระติบข้าวทั้งสอง นึ่งข้าวเหนียว เมื่อสุกแล้วนำมาแบ่งใส่กระติบข้าวทั้งสองในปริมาณที่เท่ากัน ปิดฝากระติบข้าวทั้งสองแล้ววัดอุณหภูมิของกระติบข้าวทั้งสองเเล้วสังเกตผลการทดลอง ซึ่งผลการทดลองอยู่ในช่วงดำเนินการ