การสกัดแทนนินจากใบหูกวางเพื่อปรับคุณภาพในบ่อเลี้ยงปลากัด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาณิสรา เกิดผล, จัสรินทร์ เฉินบำรุง, ลภัสรดา ทองคำฟู
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภาภรณ์ กาสุริยะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ
อีกทั้งในปัจจุบันมีการนำปลากัดมาเพาะพันธุ์เพื่อส่งออก และนำมาใช้ในการแข่งขัน ทางคณะผู้จัดทำได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดที่ช่วยปรับค่าสมดุลของน้ำในบ่อเลี้ยงปลากัด จึงได้ทราบว่าเกษตรผู้เลี้ยงปลาใช้ใบหูกวางแห้งในการปรับสภาพน้ำ และทางคณะผู้จัดทำจึงสร้างแบบจำลองการเลี้ยงปลากัดเพื่อปรับสมดุลน้ำตามค่าpHที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทางคณะผู้จัดทำได้เลือกใบหูกวางเพราะเป็นต้นไม้ที่หาได้ทั่วไปตามท้องบ้าน และยังมีข้อดีหลายประการ เช่น การปรับค่าสมดุลของน้ำ รวมถึงช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของหางปลากัด นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องสีของหางปลากัดให้มีสีที่สดขึ้น