แอปตาเซนเซอร์บนกระดาษด้วยระบบของไหลจุลภาคด้วยเทคนิควิธีการตรวจวัดสีเพื่อตรวจหาอัลฟาฟีโตโปรตีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐนนท์ อนันต์ชยวัฒน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรี อานุภาพ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเทพศิรินทร์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทยและยังเป็นมะเร็งที่มีตราการเสียชีวิตมากที่สุดจาการรายงานจากรมอนามัยโลก หากผู้ป่วยมะเร็งได้รับการตรวจวินิจฉัย พบภาวะของโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีจะทำให้สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต หรือการหายขาดจากโรคได้ การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งโดยทั่วไปสามารถทำการตรวจวิเคราะห์ได้หลายวิธีอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งต้องนนำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง และไม่สามารถวิเคราะห์และติดตั้งใช้ได้ในห้องปฏิบัติการทั่วไปในปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยมะเร็งมีการศึกษาและพัฒนามากขึ้นโดยอาศัยหลักการของทางพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยามาทำการตรวจวิเคราะห์ทางชีวโมเลกุล วิธีนี้ใช้ในการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งมาประยุกต์กับการวินิจฉัยหาภาวะของโรคมะเร็งโดยสารบ่งชี้มะเร็งในการตรวจหามะเร็งตับคือ Alpha-fetoprotein (AFP)ในผู้ป่วยมะเร็งตับหรือบุคคลที่มีความเสี่ยงจะพบ AFP สูงเกินกว่า 400 ng/mL และการที่สร้างอุปกรณ์การวิเคราะห์บนกระดาษด้วยระบบของไหลจุลภาคเป็นวิธีที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยคลินิกและในด้านอื่นๆต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ ใช้ปริมาณสารเคมีเพียงเล็กน้อยแต่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้ง ใช้งานง่าย และเห็นผลเร็วเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับงานภาคสนามพกพาสะดวก วิธีในการตรวจวัดตัวอย่างบนอุปกรณ์กระดาษที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือวิธีการตรวจวัดสีเห็นผลได้อย่างรวดเร็วสามารถดูได้ด้วยตาเปล่าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่จัดหาได้ง่ายในห้องปฏิบัติติการและยังสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ จึงทำให้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาแอปตาเซนเซอร์บนกระดาษเพื่อตรวจวัดหา AFP ด้วยระบบของไหลจุลภาคด้วยเทคนิคการตรวจวัดสี แอปตาร์เซนเซอร์เป็นไบโอเซนเซอร์ชนิดหนึ่งคือการตรวจวัดทางชีวภาพสำหรับการตรวจวิเคราะห์สารตัวอย่างได้อย่างจำเพาะเจาะจงโดยอาศัยตัวตรวจจับ มีการนำแอปตาเซนเซอร์มาใช้งานที่หลากหลายการตรวจ การวินิจฉัย เนื่องด้วยสามารถเปลี่ยนแปลงตัวตรวจจับให้มีความจำเพาะกับสารเป้าหมายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือทางกายภาพ ซึ่งจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณสารตัวอย่าง มีความแม่นยำและความเร็วสูงใช้เวลาไม่นานในการตรวจวัด