ภาชนะชีวภาพจากเส้นใยของ Acetobacter xylinum

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมพ์นารา แก้วกอง, จารุวรรณ สมพงษ์, ลฎาภา กาญจนอโนทัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิตารีย์ ทองเทียนชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หนึ่งในวุ้นที่เรานิยมรับประทานในปัจจุบันนั้นก็คือวุ้นสวรรค์หรือว่าวุ้นมะพร้าวที่เกิดจากการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย Acetobacter Xylinum ในน้ำมะพร้าว แบคทีเรียจะสร้างเส้นใยจนกลายเป็นแผ่นวุ้นซึ่งวุ้นสวรรค์นั้นเป็นที่นิยมและแพร่หลายไปในทั่วทุกภูมิภาคเนื่องจากมีราคาถูก มีรสชาติที่ถูกปากผู้บริโภคและหาได้ง่ายทั่วไปตามท้องตลาด คุณสมบัติที่สำคัญของวุ้นสวรรค์คือมีความเหนียว ความแข็งแรงและความยืดหยุ่น อุ้มน้ำได้ดี อัตราการปล่อยน้ำช้า มีความเป็นผลึกสูง ต้านทานแรงดึงมาก โครงสร้างเป็น 3D เป็นวัสดุผสมที่มีความเข้ากันทางชีวภาพ สามารถฆ่าเชื้อ Bact. ได้ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สามารถใช้ในการขึ้นรูปเป็นภาชนะได้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาชนะชีวภาพด้วยวัสดุจากธรรมชาติหลากหลายชนิดยกตัวอย่างเช่น ภาชนะชีวภาพจากกาบกล้วย ภาชนะชีวภาพจากมันสำปะหลัง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามภาชนะชีวภาพเหล่านี้ก็มีขีดจำกัดสำหรับประสิทธิภาพในการใช้งานดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะทำภาชนะชีวภาพจากเส้นใย Acetobacter Xylinum เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในในการใช้ภาชนะชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม