เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วจากเกล็ดปลานิล และเกล็ดปลากะพง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฏนรี ปัตตพงศ์, ณัชชา สูงสว่าง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
โกเมน ปาปะโถ, รัตนวดี โมรากุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหามลพิษทางน้ำทีมีสิ่งปนเปื้อนประเภทโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ซึ่งเป็นสารที่มีพิษค่อนข้างร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตกำลังประสบปัญหามากขึ้น คณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดดูดซับไอออนของตะกั่วจากเกล็ดปลาน้ำจืด และน้ำเค็ม วัตถุประสงค์ของโครงงาน คือ 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วจากเกล็ดปลานิล และเกล็ดปลากะพง 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วจากการเตรียมเกล็ดปลาในรูปแบบต่าง ๆ และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วจากเกล็ดปลานิล และเกล็ดปลากะพงด้วยวิธีการต่างกัน ได้ออกแบบการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรก คือ การเตรียมรูปแบบเกล็ดปลาที่แตกต่างกันทั้ง 3 แบบ คือ เกล็ดปลาที่ไม่ผ่านการกระตุ้น เกล็ดปลาที่กระตุ้นด้วย HCl 1 รอบและเกล็ดปลาที่กระตุ้นด้วย HCl 2 รอบ ขั้นตอนที่ 2 คือ การทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับ โดยนำเกล็ดปลาแต่ละชนิดแต่ละแบบมาดูดซับตะกั่ว หลังจากนั้นนำน้ำตะกั่วที่ได้มาตกตะกอนด้วย KI ที่มีความเข้มข้น 10 % โดยมวล/ปริมาตร กรองใส่กระดาษกรองหลังจากที่กระดาษแห้งจึงไปชั่งหาน้ำหนักของตะกอนแล้วจึงนำผลการทดลองที่ได้มาใช้ในการคำนวณหาเปอร์เซ็นประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วในเกล็ดปลาแต่ละชนิดแต่ละแบบ และขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบการดูดซับด้วยวิธีการแช่และด้วยวิธีคอลัมน์
จากการทดลองพบว่า เกล็ดปลากะพงมีประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วสูงกว่าเกล็ด ปลานิล เกล็ดปลากะพง ซึ่งปลานิลที่ผ่านการกระตุ้นด้วย HCL 2 รอบมีประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของตะกั่วสูงสุด และการดูดซับด้วยวิธีการแช่เกล็ดปลาในสารละลายมีประสิทธิภาพสูงกว่าการดูดซับแบบคอลัมน์ทั้งปลานิล และปลากะพง