การศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบขลู่และชาใบขลู่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธยานี ศรีพิบูลย์, ชนิดาภา ลิ้มวณิชย์กุล, ปิยาพัชร จตุพรจรัสกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในจังหวัดสมุทรสงครามได้มีการนำต้นขลู่ซึ่งเป็นพืชที่พบทั่วไปบริเวณนาเกลือ มาทำชาเขียว อีกทั้งมีงานวิจัยที่พบสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ในต้นขลู่ แต่งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระในชาขลู่ของประเทศไทยยังมีไม่มาก ดังนั้น โครงงานนี้ จึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบขลูที่ความสูงแตกต่างกันจากปลายยอด โดยศึกษาที่ระดับความสูงต่างกัน 4 ระดับ คือ 0-10, 11-20, 21-30, 31-40 เซนติเมตร โดยวิธี DPPH assay, FRAP และ ORAC จากนั้นจะนำใบขลู่ที่ความสูงที่มีปริมาณสาร antioxidant สูงสุดมาเข้ากระบวนการทำชาเขียวและชาวดำ โดยชาเขียวจะนำใบขลู่มาอบไอน้ำเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ (enzyme) แล้วนำไปอบแห้ง การทำชาดำจะไม่มีการอบไอน้ำแต่มีการนวดใบเพื่อให้เกิดการหมัก จากนั้นนำชาเขียวและชาดำมาสกัดด้วยน้ำร้อน เพื่อตรวจสอบปริมาณ antioxidant, total phenolic และ sensory test เพื่อทดสอบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อชา และคาดหวังว่า ผลจากโครงงานนี้ จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของชาขลู่ท้องถิ่น ให้เป็นที่แพร่หลาย และมีงานวิจัยยอมรับสำหรับการต่อยอดและพัฒนาเพื่อทำงานวิจัยต่อไปได้