การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยน้ำว้าด้วยฟิล์มไคโตซานจากเกล็ดปลานิล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พัฒน์นรี หงษ์ทอง, อิสระพงษ์ ดวงหาคลัง, ณัถธภร ชิดไธสง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุปราณี มงคลล้ำ, วารินทร์ เสาร์ทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไคโตซาน นำไปเคลือบผิวผลิตผลแล้วมีคุณสมบัติเป็นฟิล์มบางๆ ช่วยยับยั้งกระบวนการเมเทบอริซึมต่างๆ ให้เกิดขึ้นช้าลง ดั้งนั้นผู้วิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะประยุกต์ใช้ไคโตซานทำเป็นแผ่นฟิล์มห่อหุ้มผลไม้เพื่อทดแทนพลาสติกที่แม่ค้าใช้ในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการชะลอการสุกของกล้วยน้ำว้าเมื่อใช้แผ่นฟิล์มไคโตซานจากเกล็ดปลานิล ในการเตรียมแผ่นฟิล์มไคโตซาน มีความเข้มข้นของสารละลายไคโตซานร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 โดยมวลต่อปริมาตร นำไปห่อหุ้มกล้วยน้ำว้า ทําการวิเคราะห์คุณภาพของกล้วยน้ำว้า ทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 15 วัน โดยพิจารณาจาก การสูญเสียนํ้าหนัก (Weight Loss) การทดสอบแป้งด้วยไอโอดีน ปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ (Total Soluble Solid, TSS) ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (Total Acidity, TA) และการเปลี่ยนสีของกล้วยน้ำว้า