การศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนพืชในการเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำในลำธารและอ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิณัฐณี เผ่าเพ็ง, จงกลณี ภักดีงาม, จิรภัทร์ สุริยวรรณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วีระพล ภาระเวช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แพลงก์ตอนพืชประกอบด้วยเซลล์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เคลื่อนที่โดยอาศัยลมและคลื่นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตเพราะแพลงก์ตอนมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารและก่อให้เกิดความผันแปรของระบบนิเวศแหล่งน้ำนั้น แพลงก์ตอนจัดเป็นผลผลิตชั้นปฐมภูมิของแหล่งน้ำ (Boney, 1975) และเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศในแหล่งน้ำ แพลงก์ตอนพืชมีกระบวนการสังเคราะห์แสงสามารถเปลี่ยนสารอนินทรีย์เป็นสารประกอบอินทรีย์โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในรูปสารอินทรีย์ไปยังแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำอื่นๆในห่วงโซ่อาหารรวมถึงผู้บริโภคอันดับต่อๆไปของห่วงโซ่อาหาร ในแหล่งน้ำ แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่มีวงจรชีวิตสั้น โดยแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน บางชนิดตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้รวดเร็วบางชนิดเจริญในสภาพแวดล้อมที่มีสารอินทรีย์สูง บางชนิดเจริญอยู่ในแหล่งน้ำที่มีสารอินทรีย์ปานกลาง บางชนิดเจริญได้ในที่มีสารอินทรีย์ต่ำ สอดคล้องกับ ยุวดี (2550) ที่กล่าวว่า แพลงก์ตอนพืช มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์สารที่มีปริมาณน้อยซึ่งวิธีทางเคมีตรวจวัดไม่ได้และสามารถตรวจ สภาพแวดล้อมที่ดำเนินมาก่อนวันที่ทำการศึกษาได้ อ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ตั้งอยู่ ต.นาสีนวน อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ลักษณะเป็นทะเลสาบ อยู่ตรงเชิงภูจอมศรีซึ่งมียอดเขาสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบมุกดาหาร เป็นทะเลสาบขนาดไม่ใหญ่ มีสัตว์น้ำหลายชนิดอาศัยอยู่ ซึ่งเกิดจากการเก็บกักน้ำในลำห้วยสิงห์ ซึ่งต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาภูจอมศรีกักเก็บน้ำและปล่อยน้ำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไว้ใช้ในการเกษตรและครัวเรือนโดยมีระบบส่งน้ำเป็นทางเล็กๆยาวจนไหลลงสู่แม่น้ำโขง บรรยากาศรอบๆทะเลสาบเป็นป่าทึบ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเข้าค่ายพักแรม โครงการฝึกอบรมต่างๆ ประชาชนในจังหวัดมุกดาหารและนักท่องเที่ยวนิยมมาตั้งแคมป์ กางเต็นท์ พายเรือ เล่นน้ำ รวมทั้งตกปลาและรอบๆอ่างเก็บน้ำยังมีร้านอาหารมากมาย ปัญหาที่ตามมาคืออาจจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ได้ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามและตรวจวัดคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์เป็นประจำเพื่อที่จะได้ทราบถึงคุณภาพน้ำที่ส่งไปยังชาวบ้านและจะได้ควบคุมคุณภาพน้ำจากนักท่องเที่ยวและประชาชนในจังหวัดมุกดาหารที่มาใช้อ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์เพื่อแก้ปัญหาต่อไป โดยการตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยแพลงก์ตอนพืชแต่ละชนิดมีช่วงความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแนวโน้มที่จะใช้เป็นดัชนีแสดงคุณภาพน้ำได้ดี (ยุวดี, 2538 )