วุ้นมะพร้าวนำไฟฟ้า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิธิ จงจีรานนท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพล กลิ่นพุฒ, มนัส สิทธิโชคธรรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
Nata de coco หรือ วุ้นมะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักของแบคทีเรีย Acetobacter xylinum โดยวุ้นที่ได้จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเซลลูโลส วัตถุประสงค์ในการทำโครงงานครั้งนี้ คือ การผลิตแผ่นวุ้นมะพร้าวผสมนาโนคาร์บอนแบล็คเพื่อเป็นวัสดุนำไฟฟ้าและศึกษาุณสมบัติของวุ้นมะพร้าวที่ได้ การผลิตวุ้นมี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิธีแรกคือ การผสมนาโนคาร์บอนแบล็คกับอาหารเลี้ยงหัวเชื้อ เพื่อให้แบคทีเรียผลิตแผ่นวุ้นที่มีส่วนผสมของนาโนคาร์บอนแบล็ค ส่วนวิธีท่ีสองคือ การแทรกซึมนาโนคาร์บอนแบล็คเข้าไปในโครงสร้างภายในของแผ่นวุ้น จากผลการทดลองพบว่า วิธีแรก แบคทีเรียจะผลิตแผ่นวุ้นได้โดยใช้ระยะเวลาการหมัก 5 วัน
ส่วนวิธีที่สอง นาโนคาร์บอนแบล็คสามารถแทรกซึมเข้าไปในโครงสร้างภายในของแผ่นวุ้นได้