โมเดลเครื่องติดตามดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระยะไกลด้วยระบบ RPM

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เบ็น คอช, จักรพงษ์ กี้ประสพสุข, ศิรวิทย์ อ้วนเผือ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เสถียร บุญศรี, จันทร์นภา ศูนย์จันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดาราวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

1.มูลเหตุจูงใจ

สถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลกมีการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับต้นๆ และเสียชีวิตเพราะโรคนี้ถึง 2 ล้านคนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และจากสถิติข้อมูลมรณะบัตรในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2562 มีการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจมากถึง 43.7% ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งเห็นได้ว่าการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจนั้นมาก เราจึงอยากจะลดปริมาณนั้น ด้วยการติดตามดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระยะไกล ด้วยระบบ RPM หรือ Remote Patient Monitoring เพื่อตรวจวัดคลื่นหัวใจของผู้ป่วยด้วยระบบดิจิตอล และแปรผันข้อมูลออกมาโดยถ้าหากคลื่นหัวใจอยู่ในระดับอันตรายก็จะแจ้งเตือนผ่าน Line Notify ผ่านผู้ดูแลของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ดูแลทราบถึงสถานการณ์ของผู้ป่วยและสามารถเข้าไปดูแลผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงระยะวิกฤตหรือไม่มีคลื่นหัวใจก็จะแจ้งข้อมูลของผู้ป่วยไปที่ Line Notify ให้กับผู้ดูแลและแจ้งรถพยาบาลเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วยและให้รถพยาบาลไปที่จุดเกิดเหตุโดยทันที ผ่านระบบติดตามตัว (Tracker) ที่ติดอยู่กับเครื่อง RPM ซึ่งระบบติดตามตัวจะเปิดใช้งานเมื่อถึงขั้นวิกฤตเท่านั้น และจะทำออกมาในรูปแบบของโมเดล

2.สมมติฐานและแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

จากการหาข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพราะโรคนี้เยอะมาก จึงต้องการจะทำเครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจของผู้ป่วยด้วยระบบดิจิตอล และแปรผันข้อมูลออกมาโดยถ้าหากคลื่นหัวใจอยู่ในระดับอันตรายก็จะแจ้งเตือนผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าน Line Notify เพื่อให้ผู้ดูแลทราบถึงสถานการณ์ของผู้ป่วยและสามารถเข้าไปดูแลผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงขั้นวิกฤต หรือไม่มีคลื่นหัวใจจะแจ้งข้อมูลของผู้ป่วยไปที่ Line Notify ให้กับผู้ดูแลและแจ้งรถพยาบาลเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วยและให้รถพยาบาลไปที่จุดเกิดเหตุโดยทันที ผ่านระบบติดตามตัว (Tracker) ที่ติดอยู่กับเครื่อง RPM ซึ่งระบบติดตามตัวจะเปิดใช้งานเมื่อถึงขั้นวิกฤตเท่านั้น และสามารถตั้งสมมติฐานว่า เครื่องติดตามดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระยะไกลสามารถแจ้งเตือนผู้ดูแลผู้ป่วยเมื่อถึงระยะฉุกเฉิน และแจ้งข้อมูลผู้ป่วยให้กับรถพยาบาลและให้รถพยาบาลไปหาผู้ป่วยผ่าน tracker เมื่อถึงระยะวิกฤตได้หรือไม่

3.วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างเครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจแบบดิจิตอล

2.เพื่อเตือนผู้ดูแลผู้ป่วยเมื่อคลื่นหัวใจอยู่ในระดับฉุกเฉิน

3.เพื่อเรียกรถพยาบาลผ่านระบบ Tracker ที่ติดอยู่กับเครื่องเมื่ออยู่ในระดับฉุกเฉิน

4.แผนการดำเนินการ

1.การศึกษาเรื่องปัจจัยการเกิดโรคหัวใจ และเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการกำเริบของโรคหัวใจ , วิธีการวัดคลื่นหัวใจ , การอ่านค่าคลื่นหายใจ และการเปรียบเทียบระยะวิกฤตต่างๆจากคลื่นหัวใจ , วิธีการส่งผ่านข้อมูลผลการแปรผลไปสู่ไลน์

2.การปรึกษา เรื่อง การทำโมเดล เครื่องติดตามดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระยะไกลด้วยระบบ RPM

3.การออกแบบและทำโมเดลเครื่องติดตามดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระยะไกลด้วยระบบ RPM

4.การทดสอบใช้เครื่องติดตามดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระยะไกลด้วยระบบ RPM

5.การประเมิณผลการทดสอบการใช้เครื่อง

6.การสรุปและอภิปรายผล