การพัฒนาสารยึดติดจากธรรมชาติที่มีความคงทนต่อการสกรีนสีคราม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุรดา ท่องพิมาย, ภัทราวดี เกตวงค์ษา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศุภากร พวงยอด, เสาวรจนี จันทวงค์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การศึกษาผลของวัสดุธรรมชาติที่ช่วยยึดติดการสกรีนสีครามจังหวัดสกลนครได้แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ตอนดังต่อไปนี้

ตอนที่ 1 ศึกษาสารช่วยติดจากยางกล้วยน้ำว้าส่วนต้น ใบ และผล ที่มีผลต่อการสกรีนผ้าพบว่าอัตราความเข้มแสงที่ไม่สามารถผ่านเข้าไปในในเนื้อผ้าได้ดีที่สุดคือ น้ำคราม 30 ml : น้ำยางกล้วยที่ได้จากสาวของผลกล้วย มีประสิทธิภาพในการยิดติดผ้าได้ดีกว่า ส่วนของลำต้นและส่วนของใบ กล้วยตามลำดับ

​ตอนที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารยึดติดต่อครามที่มีผลต่อการยึดติดในการสกรีนผ้าทำการเตรียมอัตราส่วนที่ได้จากตอนที่ 1 และ 2 มาผสมกันพบว่า อัตราความเข้มแสงที่ไม่สามารถผ่านเข้าไปในในเนื้อผ้าได้ดีที่สุดคือ น้ำคราม 30 ml : สารยึดติด 4 ซีซี พบว่ามีปริมาณการดูดกลืนความเข้มแสงได้สูงถึงร้อยละ 92 รองลงมาคืออัตราส่วนของสารยึดติด 12 ซีซี และ 16 ซีซีตามลำดับ

ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสีครามในการสกรีนผ้าจากสารช่วยยึดติด ผ้าครามและสาร A อัตราความเข้มแสงที่ไม่สามารถผ่านเข้าไปในในเนื้อผ้าได้ดีที่สุดคือ น้ำคราม 30 ml : สารยึดติด 8 : สารAเป็น 0,2,4,6,8 และ 10 แสดงว่า อัตราส่วนที่มีผลต่อความเข้มแสงที่ถูกดูดกลืนไว้ มากที่สุดคือ 30 : 8 : 6 ซึ่งสามารถลดได้ถึง 96 % ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนของการผลิตอัตราส่วนที่เหมาะสมในการสกรีนผ้าเพื่อลดการดูดกลืนแสงได้ดีที่สุดคือ 30 ml : 8 : 6

ตอนที่ 4 ศึกษาและทดสอบความเข้มสีของสารตัวอย่างและสีสกรีนสีน้ำเงินโดยใช้เครื่องมือ hunter lab จากการนำผ้าที่ผ่านการสกรีนไปทดสอบวัดค่าความเข้มสี พบว่าสีสกรีนที่มีความเข้มไกล้เคียงกับมาตรฐานคืออัตราส่วน คราม : สารยึดติด : สาร A ในอัตราส่วน 30 : 8 : 6 และจากผลการทดลองพบว่าสาร A มีส่วนในการช่วยให้สารสกรีนที่ผลิตได้มีความคงทนและซึมเข้าไปในเนื้อผ้าได้ดีที่ สุด