การพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อพักเพื่อจำหน่าย กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) ร่วมกับระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชลศักดิ์ อนุวารีพงษ์, อินทรีย์ อินทวรรณ, จิรพงศ์ ไชยศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุมพล ชารีแสน, ณัฐริกา ฉายสถิตย์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การพัฒนาอุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพน้ำทั้ง 4 ชนิดมีคุณภาพน้ำที่ใกล้เคียงกัน เมื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำของอุปกรณ์ทั้ง 4 ชนิดมีคุณภาพน้ำที่ใกล้เคียงกัน โดยแบบเกรียวสูงวัดค่า DO อยู่ได้สูงที่สุดคือ 7.84±0.18 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า pH วัดได้ 8.37±0.14 อุณหภูมิวัดได้ 19±0.00 องศาเซลเซียส ค่า EC วัดได้ 387.67±4.89 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าความเค็ม วัดได้ 192.67±6.35 ppm ค่าTDS วัดได้ 193.67±4.10 ppm และค่าความโปร่งใส วัดได้ 0.48±1.42 เมตรซึ่งใกล้เคียงกับอุปกรณ์เติมออกซิเจนใต้ผิวน้ำแบบแนวราบ ซึ่งวัดได้ ค่า DO อยู่ได้สูงที่สุดคือ 7.81±0.52 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า pH วัดได้ 8.52±0.24อุณหภูมิวัดได้ 18±0.00 องศาเซลเซียส ค่า EC วัดได้ 385.67±3.17 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าความเค็ม วัดได้ 190.67±4.93 ppm ค่าTDS วัดได้ 192.67±3.95 ppm และค่าความโปร่งใส วัดได้ 0.44±1.36 เมตร เมื่อเปรียบเทียบโดยค่าสถิติพบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาราคาต้นทุนอุปกรณ์เติมออกซิเจนแบบแนวราบนั้นมีราคาต้นทุนต่ำ มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากว่าแบบอื่น การเพิ่มระบบวนน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิที่บริเวณผิวน้ำและใต้น้ำส่งผลให้อุณหภูมิที่ผิวน้ำและใต้น้ำมีค่าไม่แตกต่างกัน จึงการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อพักเพื่อจำหน่าย กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) เมื่อทดลองปล่อยกุ้งในบ่อของเกษตรกร กับบ่อทดลองที่ติดตั้งระบบอัตโนมัติ พบว่า บ่อกุ้งพักขายที่ติดตั้งระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพน้ำตรวจค่า DO ได้ 8.45 ± 0.27 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าผลต่างอุณหภูมิผิวน้ำกับใต้น้ำไม่ต่างกัน มีความโปร่งใสของน้ำ 0.58±0.00 เมตร และพบกุ้งตายเพียง 453.04 กรัม ส่วนบ่อของเกษตรกรตรวจวัดคุณภาพน้ำต่างกัน โดยตรวจค่า DO ได้ 8.63 ± 0.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าผลต่างอุณหภูมิผิวน้ำกับใต้น้ำ 2.00 ± 0.00องศาเซลเซียส สูงกว่าบ่อทดลอง มีความโปร่งใสของน้ำ 0.36±0.00 เมตร แสดงว่าน้ำขุ่นมากขึ้น และพบกุ้งตาย 684.13 กรัม ซึ่งสูงกว่าบ่อทดลอง แล้วยังพบว่า มีการแจ้งเตือนผ่านไลน์พร้อมกับสังเกตการทำงานของเครื่องเติมออกซิเจนใต้ผิวน้ำได้ 12 ครั้งต่อชั่วโมง