การศึกษาประสิทธิภาพการกักเก็บความชื้นของกระถางจากวัสดุธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปริณดา ทองสันติ, สิริทัศน์ บุญฐิติวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บรรณารักษ์ ตัญจพัฒน์กุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันวิกฤตการณ์ด้าน climate change หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่มีความแปรผันอย่างรุนแรง ทำให้เกิดน้ำท่วมและภัยแล้ง และปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดในประเทศไทย เนื่องจากอาชีพหลักของคนไทย คือ อาชีพเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย โดยที่ผ่านมาปัญหาภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วง ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรของชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้ำมีความสำคัญในด้านการเกษตรตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกจนถึงการได้ผลผลิตออกมา นอกจากจะใช้ในการลำเลียง สารอาหาร และหล่อเลี้ยงเซลล์ของพืชแล้ว น้ำยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการงอกของเมล็ด และคุณภาพดิน ดังนั้นในหลายปีที่ผ่านมาจึงได้มีการคิดค้นวิธีการปลูกพืชในสภาพน้ำน้อยหลากหลายวิธี
ทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาและพัฒนากระถางเพื่อกักเก็บความชื้นในดินจากวัสดุธรรมชาติ โดยใช้ใยมะพร้าว ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติ โดยเป็นเส้นใยที่หยุ่นเหนียวแข็งแรงทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติจึงสามารถทำลายได้ง่าย ผสมกับสารซิริซีนที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บความชื้น และยังสามารถชะลอการสลายของปุ๋ยได้อีกด้วย ซึ่งสารซิริซีนนี้ สามารถพบในธรรมชาติได้ในน้ำลอกกาวไหมจากรังไหม ซึ่งน้ำลอกกาวไหมนี้เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการสาวไหม โดยหากทิ้งลงแหล่งน้ำ น้ำลอกกาวไหมซึ่งมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบอยู่นั้น อาจทำให้น้ำเน่าเสียได้
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงสนใจ นำสารซิริซีนจากน้ำลอกกาวไหมในความเข้มข้นต่าง ๆ ผสมกับน้ำแป้งเปียกเพื่อเป็นตัวประสานใยมะพร้าวที่เป็น วัสดุธรรมชาติ เพื่อขึ้นรูปเป็นกระถางที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บความชื้นและศึกษาประสิทธิภาพการกักเก็บความชื้นของสารซิริซีนจากน้ำลอกกาวไหม