ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของปูเจ้าฟ้าบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวจังหวัดระนอง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วริศรา กิจชการ, คชธิดา คชราช, ปัณณภัส นาคแดง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ดิสทัต ยงประเดิม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีระนอง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปูเจ้าฟ้าเป็นปูน้ำตกชนิดใหม่ของโลกพบที่วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ณ วันที่6 มีนาคม พ.ศ. 2529 ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของปูชนิดนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 ศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร และกลุ่มนิสิตปริญญาโทภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ได้ค้นพบปูพันธุ์ใหม่ของโลกจำนวนสองตัว บริเวณลำธารน้ำตกหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ปัจจุบันพบว่า ปูเจ้าฟ้าลดจำนวนลงมากจึงทำให้ไม่สามารถพบได้ตามทั่วไปอาจจะเกิดการสูญพันธุ์เนื่องจากปูเจ้าฟ้ามีการเก็บตัวเพื่อปกป้องตนจากอันตราย จึงมีการห้ามขึ้นไปสำรวจปูเจ้าฟ้าโดยตรง ทำให้ข้อมูลด้านนิเวศวิทยาและชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับปูเจ้าฟ้ามีไม่มากนัก ส่งผลต่อแนวทางในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปู่เจ้าฟ้า ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจในทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของปูเจ้าฟ้าบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จังหวัดระนอง เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของปูเจ้าฟ้า และเป็นแนวทางอนุรักษ์ปูน้ำตกชนิดใหม่ของโลกที่พบบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวให้คงอยู่ต่อไป