“บัวตอง” เอเลี่ยนสปีชีส์จากยอดดอยสู่การพัฒนาสมบัติอัลลีโลพาธีเพื่อควบคุมวัชพืชในร่องปลูก สับปะรดนางแล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พณทรรศน์ ชัยประการ, ปรวัฒน์ ดอนทะนาม, สิรวิชญ์ เหลาลาภะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เกียรติศักดิ์ อินราษฎร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การแพร่กระจายของวัชพืชในร่องปลูกสับปะรดเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร การใช้สารเคมีเพื่อควบคุมวัชพืชมีผลต่อสุขภาพพืช เป็นอันตรายกับเกษตรกรและเกิดสารตกค้างไปยังผู้บริโภค โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากใบบัวตองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชในร่องปลูกสับปะรดนางแล โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาความหลากหลายของวัชพืชที่พบในร่องปลูกสับปะรด พบว่า ภายหลังการปลูกสับปะรดนางแลช่วงระยะ 1 เดือนแรกปลูกจะพบการกระจายพันธุ์ของวัชพืชต่างๆ โดยพบความหนาแน่นของหญ้าตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens) หญ้าไมยราบเลื้อย (Mimosa pudica) และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) มากที่สุด โดยมีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 22, 18 และ 10 ต้นต่อตารางเมตร ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของชนิดตัวทำละลายในการสกัดสารจากใบบัวตองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชในร่องปลูกสับปะรด โดยนำใบบัวตองแห้งมาสกัดด้วยตัวทำละลายได้แก่ เฮกเซน เอทานอลและน้ำกลั่น นำสารสกัดความเข้มข้น 10 g/l ปริมาตร 50 มิลลิลิตร ไปทดสอบการยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชทั้ง 3 ชนิด พบว่า พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลทำให้มีเปอร์เซ็นต์การงอกและน้ำหนักแห้งของวัชพืชทั้งสามชนิดต่ำกว่าชุดที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดน้ำ สารสกัดด้วยเฮกเซนและชุดควบคุม ตามลำดับ การทดลองที่ 3 ศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบบัวตองต่อสัตว์หน้าดินและต้นสับปะรด โดยวิเคราะห์ค่าความเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดิน โดยการฉีดพ่นสารสกัดในกระบะที่เลี้ยงไส้เดือนดินและตัวอ่อนแมลงช้าง และทดสอบความเป็นพิษต่อต้นกล้าผักกาดหอมและต้นสับปะรดนางแล โดยเปรียบเทียบกับชุดควบคุมคือการฉีดพ่นด้วยน้ำและสารควบคุมวัชพืชในทางการค้า (ไดยูรอน) พบว่าสารสกัดจากใบบัวตองมีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมี โดยไม่ทำให้สัตว์และพืชทดลองหรือมีน้ำหนักหรือลักษณะแตกต่างจากชุดควบคุม ในขณะที่ใช้สารควบคุมวัชพืชทำให้สัตว์ตายและพืชทดลองมีน้ำหนักแห้งลดลงถึง 6 เท่า โครงงานนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพพืชเพื่อให้เกิดความยั่งยืน สร้างความปลอดภัยให้กับต้นพืช เกษตรกร ผู้บริโภคและระบบนิเวศน์ของโลกใบนี้