ประสิทธิภาพของโคพีพอดในการควบคุมประชากรลูกน้ำยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ภายใต้ปัจจัยทางนิเวศวิทยาบางประการ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อาทิตยา สิมะอารีย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธัญญรัตน์ ดำเกาะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะที่นำโรคมาสู่คนได้หลายโรค หนึ่งในโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ยุงลายบ้านนำมาสู่คนคือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน การควบคุมโรคนี้ ใช้วิธีการควบคุมพาหะนำโรคเป็นหลัก คือควบคุมขนาดประชากรของยุงลายบ้าน วิธีการควบคุมโรคของภาครัฐในปัจจุบัน ใช้การฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงในบริเวณที่ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วย ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลเฉพาะในระยะสั้น อาจทำให้ยุงเกิดความต้านทานต่อสารเคมี และใช้ทรัพยากรมาก โครงงานนี้จึงมุ่งศึกษาการควบคุมเชิงชีวภาพ นั่นคือการใช้โคพีพอดในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยศึกษาปัจจัยเชิงนิเวศวิทยาบางประการที่คาดว่าจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเป็นตัวควบคุมเชิงชีวภาพของโคพีพอด ได้แก่ระยะการเจริญพัฒนาของลูกน้ำ อัตราส่วนของโคพีพอดต่อลูกน้ำ และปริมาณสารอาหารในน้ำ ผู้จัดทำโครงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์ความรู้ที่ได้นี้จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมประชากรยุงลาย และเป็นแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยได้จริง