การคาดการค่าความคลาดเคลื่อนจากการนับจำนวนประชากรด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลงโดยคำนึงถึงความกระจายอย่างไม่เท่าเทียมทางธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พุฒิเมธ กิจจารุวรรณกุล, เมธัส จิรปัญญาวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐวินทร์ โช

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกำเนิดวิทย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

วิธีการนับจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันคือการสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง โดยผู้สำรวจที่ทำการนับไม่สามารถรู้ค่าความคลาดเคลื่อนที่จะเกินขึ้นได้เลย อีกทั้งในธรรมชาติการกระจายตัวของประชากรนั้นขึ้นอยูกับหลายปัจจัย จึงทำให้มีความซับซ้อนในการใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาออกมาได้ ผู้ศึกษาจึงใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจำลองพื้นที่และสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีการกระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบของธรรมชาติ(biased distribution) จากนั้นให้คอมพิวเตอร์ใช้วิธีวางแปลงในการนับจำนวนประชากรเปรียบเทียบกับค่าจริงและแปลงข้อมูลเป็นกราฟระหว่างเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่ทำการสำรวจและค่าความคลาดเคลื่อน เพื่อให้ผู้สำรวจสามารถเลือกขนาดพื่นที่ที่เหมาะสมกับค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้