การสกัดไคโตซานจากแกนหมึกเพื่อการเจริญเติบโตของพืช

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กนกวรรณ ศรีสุวรรณ, ปริญรัตน์ จิตรสะอาด, ธัญเรศ ใหญ่ยิ่ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วันชัย นราวงษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบ้านนา(นายกพิทยากร)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในด้านการเกษตรจะมีการประสบปัญหามากมายในการปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นพืชไม่แข็งแรง เกิดโรคต่างๆ ทำให้เกษตรกรหรือบุคคลที่ทำการปลูกพืชได้รับผลกระทบทางคณะผู้จัดทำจึงศึกษาค้นคว้าเพื่อที่จะมาช่วยแก้ปัญหา

จากการสังเกตและศึกษาเวลาที่รับประทานหมึกจะมีส่วนของหมึกที่ไม่รับประทานเนื่องจากมีรสสัมผัสที่แข็งหรือเวลาที่ไปซื้อหมึกที่ร้านค้าต่างๆบางร้านจะมีการนำส่วนของหมึกส่วนนี้นำออกเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปประกอบอาหารของลูกค้า ส่วนของหมึกส่วนนั้นคือ"แกนหมึก"ทางคณะผู้จัดทำจึงศึกษาแล้วพบว่าในแกนหมึกนี้มีสารไคตินอยู่ในรูปของบีต้าไคตินจึงได้หาวิธีการสกัดไคตินจากแกนหมึกซึ่งมีกระบวนการผลิตไคโตซานมี 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การกำจัดเกลือแร่ การกำจัดโปรตีน การฟอกสี และการสกัดไคโตซาน จากนั้นนำไคโตซานที่ได้มาทำการทดลองโดยนำพืชชนิดเดียวกันมากำหนดตัวแปรควบคุมให้เหมือนกัน แล้วให้ไคโตซานที่ได้จากการสกัดแกนหมึกกับพืช 1 ต้นกับพืชที่ไม่ให้ไคโตซานแล้วเปรียบเทียบผลของการเจริญเติบโตของพืช