การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟมของมอดแป้ง กระดิ่งเงินกระดิ่งทอง และหนอนไม้ไผ่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุลวัฒน์ สินศิริ, วุฒิภัทร ไกรอ่ำ, สุญาณิดา บุบผามาลา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภูมินทร์ หลงสมบูรณ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โฟม (Polystyrene) เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยากและใช้เวลาที่นานมากและก่อให้เกิดมลภาวะต่อระบบนิเวศ ซึ่งกระบวนการกำจัดในปัจจุบัน เช่น การเผาและการฝังกลบทำให้เกิดมลพิษ ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะนำสัตว์ที่เป็นสัตว์วงศ์เทเนบริโอนิดี้ (Tenebrionidae) ได้แก่ กระดิ่งเงินกระดิ่งทอง (Martianus dermestoides) และมอดแป้ง (Tribolium castaneum) และสัตว์ที่พบได้ในประเทศคือหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis) ซึ่งคาดว่าจะสามารถกินและย่อยสลายโฟมได้ โดยทำการทดลองหาประสิทธิภาพของสัตว์แต่ละชนิดที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟมได้ดีที่สุดและช่วงอายุที่แตกต่างกันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟมของสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยใช้สัตว์แต่ละชนิดจำนวนเท่า ๆ กัน เลี้ยงในอาหารไว้ที่สภาวะเดียวกัน โดยเปรียบเทียบกับกรณีไม่มีสัตว์ทดลอง สัตว์แต่ละชนิดสามารถกินและย่อยสลายโฟมได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน รวมทั้งสัตว์แต่ละชนิดที่ช่วงเวลาต่างกันส่งผลต่อความสามารถในการกินและย่อยสลายโฟมที่แตกต่างกัน ซึ่งผลการทดลองจะช่วยให้มีความเข้าใจและช่วยเพิ่มทางเลือกในการกำจัดโฟมโดยวิธีการทางชีวภาพและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเผยแพร่แก่ชุมชนโดยวงกว้างเพื่อช่วยกันกำจัดโฟมและลดต้นทุนในการกำจัดโฟมจากวิธีการอื่นได้เป็นอย่างดี