การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักชีวภาพจากกากถั่วเหลืองและปลาป่น และปุ๋ยเคมี ที่มีผลต่อดินและการเจริญเติบโตของต้นไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กันทรากร สุดกังวล, ณัฐธยาน์ จำปาทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วันเพ็ญ ทีฆาวงค์, เบญญพร พัฒน์เจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัญหาที่ตามมาคือมีสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และดินที่ปลูกเสื่อมสภาพ ผู้จัดทำได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงคิดที่จะนำวัตถุดิบที่หาได้ง่ายทั่วไป เช่น กากถั่วเหลือง และ ปลาป่น มาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยทำการทดลองหมักปุ๋ยชีวภาพทั้งหมด 5 สูตร ดังนี้ 1) กากถั่วเหลืองต่อปลาป่น อัตราส่วน 1 ต่อ 1 2) กากถั่วเหลืองต่อปลาป่นอัตราส่วน 2 ต่อ 1 3) กากถั่วเหลืองต่อปลาป่น อัตราส่วน 1 ต่อ 2 4) กากถั่วเหลืองอย่างเดียว 5) ปลาป่นอย่างเดียว จากนั้นนำปุ๋ยหมักมาอัดเม็ด และนำสูตรที่ดีที่สุดมาทดสอบกับต้นพริก โดยแบ่งเป็น 2 ชุดการทดลอง คือ 1) ต้นพริกที่ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด 2) ต้นพริกที่ใส่ปุ๋ยเคมี โดยปลูกตัวอย่างทั้งสองในสภาวะเดียวกัน จากผลการทดลองพบว่าปุ๋ยอัดเม็ดจากกากถั่วเหลือง และปลาป่น มีประสิทธิภาพเทียบเท่าปุ๋ยเคมี