นวัตกรรมฉนวนความร้อนจากเส้นใยธรรมชาติของพืชบางชนิดร่วมกับแป้งมันสำปะหลังและพลาสติกชนิด LDPE
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนิกานต์ จันต๊ะวงค์, ณัฐกานต์ แก้วป้องปก, เศรษฐิณีญา ยอดรัก
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อนจิต สิงห์เผ่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ขึ้นรูปฉนวนความร้อนจากเส้นใยเซลลูโลส 4 ชนิด ได้แก่ ใยมะพร้าว ซังข้าวโพด ใบสับปะรด แกลบ ใช้ตัวประสานคือ แป้งมันสำปะหลัง และเพิ่มสมบัติเชิงกลให้กับชิ้นวัสดุโดยเติมพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene; LDPE) และผงกล่องนม กำหนดสัดส่วนในการผสมวัสดุทั้งหมด 4 สูตร ทำการขึ้นรูปแบบร้อน กำหนดค่ามาตรฐานฉนวนตามมาตรฐานของ JIS A5905 ที่ระบุให้ช่วงความชื้นของฉนวนอยู่ระหว่าง 3-15 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นตามมาตรฐาน JIS A 5905 Insulation board ไม่เกิน 350 kg/m³ ฉนวนความร้อนที่ได้จะถูกทดสอบสมบัติเชิงกล ได้แก่ การทดสอบแรงดึง การทดสอบกำลังอัด การกันความร้อน การทดสอบความหนาแน่น และการทดสอบการดูดซึมน้ำ ผลการทดลอง พบว่า ฉนวนทั้ง 4 สูตร มีค่าความชื้นอยู่ระหว่าง 4.8 -6.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าน้ำหนักมากที่สุดที่ 89.38 กรัม แรงดึงมีค่าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของพลาสติกชนิด LDPE ที่เพิ่มขึ้น ค่าต้านแรงดึงสูงสุดที่ 1,618.98 นิวตัน ในทางตรงกันข้ามการขึ้นรูปด้วยเส้นใยเซลลูโลสเพียงอย่างเดียวมีค่าทนต่อแรงอัดมากที่สุด ค่าการทนต่อแรงอัดสูงสุดที่ 29.00 kg/cm2 เส้นใยเซลลูโลสมีผลโดยตรงต่อค่าการกันความร้อน สำหรับความหนาแน่นที่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของ JIS A 5905 ที่ระบุมาตรฐานของ Insulation board กำหนดให้ฉนวนมีความหนาแน่นไม่เกิน 350 kg/m³ ฉนวนทั้ง 4 สูตร มีค่าความหนาแน่นอยู่ในช่วง 200-350 kg/m³ ผลจากการทดลองการดูดซึมน้ำ พบว่า ในสัดส่วนฉนวนความร้อนที่มีเส้นใยเซลลูโลสอย่างเดียวและฉนวนความร้อนที่เติมผงกล่องนม มีอัตราการดูดซึมน้ำที่มากกว่าการเติมพลาสติกชนิด LDPE