ศึกษาคุณสมบัติของเนยถั่วจากถั่วดาวอินคาสำหรับผู้ป่วยโรค Peanut Allergy

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชกานต์ จิรานิธิกูล, โชษิตา รชตะสมบูรณ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จุฑารัตน์ ใจงาม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ถั่วดาวอินคาเป็นพืชที่มีสารอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีนจึงได้มีการทดลองนำถั่วดาวอินคามาผลิตเป็นเนยถั่วแทนการใช้ถั่วลิสง เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเนยถั่วจากถั่วดาวอินคาสำหรับผู้ป่วยโรค Peanut Allergy โดยการทดลองแบ่งการทำเนยถั่วดาวอินคาออกเป็น 4 สูตร ได้แก่ ถั่วดาวอินคาแบบไม่บีบน้ำมันนำมาให้ความร้อนโดยการต้ม ถั่วดาวอินคาแบบไม่บีบน้ำมันนำมาให้ความร้อนโดยการนึ่ง ถั่วดาวอินคาแบบบีบน้ำมันนำมาให้ความร้อนโดยการต้ม และถั่วดาวอินคาแบบบีบน้ำมันนำมาให้ความร้อนโดยการนึ่ง โดยมีการให้ความร้อนที่แตกต่างกันและมีการบีบน้ำมันออกต่อมาเติมน้ำมันกลับเข้าไปในอัตราส่วน 25%, 50% และ 75% แล้วทำซ้ำในสูตรต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่า sensory score ด้านรสชาติ สี กลิ่นรสและความชอบโดยรวม จากนั้นทำการทดสอบลักษณะทางกายภาพด้วยเครื่องวัดเนื้อสัมผัส (Lloyd Instrument model TA plus) แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสูตรเนยถั่วลิสง และสูตรเนยถั่วลิสงตามท้องตลาด โดยการนำมาทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยวิธี 9-point hedonic scaling สูตรที่ได้รับมากที่สุดนำมาใช้เป็นสูตรควบคุมในขั้นต่อไป จากการทดลองพบว่าผลการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point hedonic scaling ของผู้บริโภค 30 คน พบว่าสูตรเนยถั่วดาวอินคาแบบบีบน้ำมันแล้วนำน้ำมันกลับเข้าไปในอัตราส่วน 50% นำมาให้ความร้อนโดยการต้ม มีคะแนนลักษณะปรากฏ กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวมไม่แตกต่างกันกับสูตรเนยถั่วลิสงควบคุม และเป็นสูตรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ถั่วดาวอินคาสามารถนำมาใช้แทนถั่วลิสงในการทำเนยถั่วสำหรับผู้ป่วยโรค Peanut Allergy ได้