วัสดุดูดซับน้ำมันจากวัชพืชลอยน้ำและการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุดูดซับน้ำมัน​

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชมพูนุท ซิ่วห้วน, อัศวรัตน์ ฆังคะมะโน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ตฤณ สุขฤกษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญหามลพิษทางน้ำส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำ ซึ่งสารที่พบได้มาก คือ น้ำมันที่มาจากครัวเรือน โรงงาน หรือตามอาคารต่าง ๆ การกำจัดน้ำมันที่ปะปนมากับน้ำด้วยการใช้วัสดุดูดซับน้ำมันก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เป็นวิธีที่สามารถลดปัญหาน้ำเสียได้อีกทางหนึ่ง คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทําโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันแต่ละชนิดของธูปฤาษี ผักตบชวา และจอก ได้แก่ น้ำมันที่ยังไม่ใช้น้ำมันที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่อง จากนั้นนำวัสดุที่ดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุดมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ โดยการผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง โดยนำมาผสมกับผงถ่านไม้ใน อัตราส่วน 50:50, 60:40, 70:30, 80:20 และ 90:10 โดยใช้กากน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวประสาน และ เชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีผงถ่านผสมกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน 400:200 ผลการทดลองพบว่าดอกธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันที่ใช้แล้วมากที่สุด ผลการศึกษาพบว่าดอกธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันที่ใช้แล้วมากที่สุดเท่ากับ 77.33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือผักตบชวา มีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันที่ใช้แล้วเท่ากับ 56.67 เปอร์เซ็นต์ และจอกมีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันที่ใช้แล้วเท่ากับ 48.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีอัตราส่วนระหว่างผงถ่านไม้ต่อดอกธูปฤาษีที่ดูดซับน้ำมันแล้ว 40:60 มีสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอัดแท่งในอัตราส่วนอื่น ๆ เนื่องจากสามารถขึ้นรูปได้ดี ค่าดัชนีความแตกร่วนโดยเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 0.997 สามารถ จุดติดไฟได้เร็วที่สุด โดยเฉลี่ย 1.31 นาที มีระยะเวลาที่ติดไฟนานที่สุด โดยเฉลี่ยเท่ากับ 12.23 นาที และให้ปริมาณความร้อนมากที่สุด ทราบได้จากปริมาณความร้อนที่น้ำได้รับ เมื่อน้ำเชื้อเพลิงอัดแท่งมาให้ความร้อนแก่น้ำ