การพัฒนาชุดตรวจสารไซยาไนด์ด้วยวิธีการทางไฟฟ้าเคมี โดยใช้เทคนิค Cyclic voltammetry
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วงศ์วริศ ศิลปพิพัฒน์, วัชรวิชญ์ หนูสลุง, เอื้อวงศ์ อนันตพฤทธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ไซยาไนด์ เป็นสารที่มีความอันตราย การรับประทานไซยาไนด์จะทำให้ตัวสารไซยาไนด์เข้าไปเกาะกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดการยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ เพียงแค่สัดส่วน 1 ใน 500 ช้อนชา ก็สามารถเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ โดยในปัจจุบันมีหลายวิธีในการตรวจหาสารไซยาไนด์หลายวิธี ซึ่งวิธี Electrochemical Sensors ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังมีข้อจำกัดที่ยังไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบสารไซยาไนด์ได้อย่างแม่นยำและจำเพาะในปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลให้การตรวจสอบสารไซยาไนด์ด้วยวิธีนี้มีความคาดเคลื่อน จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้พัฒนาชุดตรวจสารไซยาไนด์ด้วยวิธีการทางไฟฟ้าเคมี โดยใช้เทคนิค Cyclic voltammetry เพื่อที่จะตรวจสอบสารไซยาไนด์แบบจำเพาะและแม่นยำ และสามารถหาความเข้มข้นของสารไซยาไนด์ได้ โดยในการศึกษานี้จะมีการทดลองหาสารที่มีปฏิกิริยาจำเพาะต่อสารไซยาไนด์ และนำสารนี้มาเคลือบกับขั้ว Electrode ซึ่งจะรับกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยารีดอกซ์ และส่งสัญญาณไปยังเครื่องตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า (Potentiostat) จากนั้นนำกราฟ Cyclic voltammetry ไปวิเคราะห์เพื่อหาสมการของกระแสไฟฟ้าเมื่อเทียบกับความเข้มข้นของไซยาไนด์ และเริ่มพัฒนาเป็นชุดตรวจสารไซยาไนด์ที่มีขนาดเล็กพกพาง่าย ราคาถูก และสะดวกต่อการใช้งานในอนาคต ที่สามารถช่วยในการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมและผู้คนจากความเสี่ยงต่อสารไซยาไนด์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว