เครื่องปลูกกระเทียม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กนกลดา อินทมา, อภิสรา จรูญเลิศวัฒนะกุล, เสฏฐกร กาญบุตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัทยา ยะมะโน, อานนท์ ตื้อจันตา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปายวิทยาคาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กระเทียมถือเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอปาย ซึ่งกระเทียมพันธุ์ปายเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการศึกษาผลของการวางตัวของกลีบกระเทียมที่มีผลต่อการงอก โดยการศึกษาระยะเวลาในการงอกของกระเทียมในการปลูกสองลักษณะการปลูกปักของและการปลูกแบบนอน การปลูกกระเทียมแบบปักจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการปลูกแบบนอน การสร้างเครื่องปลูกกระเทียมขึ้นมาเพื่อลดการว่าจ้างแรงงานซึ่งราคากระเทียมในบางปีไม่คงที่จะส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนและเป็นเครื่องทุ่นแรงจึงใช้ระยะเวลาในการปลูกที่เร็วกว่าแรงงานคน

จากผลการทดลองที่ 1 ศึกษาลักษณะการวางตัวของกระเทียมมีผลต่อการงอกการเพื่อเปรียบเทียบอัตราการงอกพบว่าการปลูกแบบปักจำนวน 5 ชุด มีผล มีอัตราการงอกเฉลี่ย 17 และการปลูกแบบนอนจำนวน 5 ชุด มีอัตราการงอกเฉลี่ย 15 ซึ่งนำผลการทดลองไปค่าหาเชิงสถิติ T.TEST พบว่า ผลจากการงอกของทั้ง 2 แบบ มีค่านัยสำคัญที่ 0.๔๗ ถือว่ารองรับสมมติฐานที่ว่า การปลูกกระเทียมโดยการปัก หรือ นอน มีผลต่อการงอกของกระเทียมไม่แตกต่างกัน

จากผลการทดลองที่ 2.1 การออกแบบและสร้างเครื่องปลูกกระเทียม โดยเครื่องปลูกกระเทียมที่สร้างขึ้นมีแนวคิดมาจากเครื่องปลูกข้าวโพดซึ่งมีหลักการทำงานที่คล้ายกันจากข้อมูลอัตราการงอกข้างต้นจึงนำไปสร้างเครื่องปลูกกระเทียมซึ่งปลูกแบบนอน กลไกการทำงานของเครื่องปลูกกระเทียม คือ เมื่อใส่กลีบของกระเทียมลงในกระบะที่เชื่อมติดอยู่กับแกนปลูกและผลักเครื่องตัดหญ้าไปข้างหน้าโดยโซ่และฟันเฟืองเป็นตัวที่ทำให้ชุดปลูกขับเคลื่อนแกนปลูกจะหมุนแล้วจะทำให้กระเทียมหล่นลงมาในแต่ละรอบ รอบละ 4 แถว ระยะห่างระหว่างหลุม 10 เซนติเมตรตามรางปลูกมี

ผลการทดสอบการทำงานของเครื่องปลูกกระเทียมและผลการทดสอบการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องเมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคนพบว่าเครื่องสามารถปลูกกระเทียมได้เร็วกว่าการใช้แรงงานคนแต่มีระยะห่างมากกกว่า 10 เซนติเมตร และมีกลีบกระเทียมเฉลี่ย 3 กลีบ ใช้เครื่องปลูกกระเทียมโดยมีเวลาเฉลี่ย 13 วินาที การใช้แรงงานคนเวลาเฉลี่ย 33.8 ต่อ 1 ตารางเมตร