การศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะของไคโตซานจากเปลือกหอยเชอรี่เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งน้ำทิ้งในโรงอาหารโรงเรียนสตรีศึกษา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เมธาพร แก้วสวนจิก, จิราวรรณ แสนลุน, ธชมนวรรณ ศรีสุขกาญจน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิกุล แผนสุพัด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อม ศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของไคโตซานในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งน้ำทิ้งในโรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสกัดไคโตซานจากเปลือกหอยเชอรี่ ซึ่งหอยเชอรี่พบมากในภาคอีสาน เป็นวัสดุเหลือทิ้ง และมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย
โดยไคโตซานจะจับกับไขมันและสารที่เป็นประจุลบทำให้ตกตะกอน และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ โดยจะวัดประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจาก การวัดปริมาณไขมัน ค่าph และปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมทั้งกลิ่นของน้ำ ทั้งก่อนและหลังใส่ไคโตซาน