การพัฒนาขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนด้วยคาร์บอนรูพรุนและอนุภาคขนาดนาโนของทอง เพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณของกรดยูริกในเหงื่อ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นวิยา ดีจักรวาล, ชนัญชิดา หนูฤทธิ์, วรพร อักโข

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ภูมิเดช พู่ทองคำ, ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา Screen-printed electrode ด้วย Mesoporous carbon และ Gold nanoparticles เพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณของกรดยูริกในเหงื่อ โดยการตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการจ่ายอิเล็กตรอนของกรดยูริก ซึ่งสามารถนำไปใช้บอกถึงปริมาณของกรดยูริกและวิเคราะห์ถึงการเป็นโรคหรืออัตราเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคเกาท์ต่อไปได้ โดยให้ความสำคัญกับความสะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพในการตรวจวัดเป็นหลัก ขั้วไฟฟ้านั้นสร้างโดยใช้ Mesoporous carbon ที่ตอบสนองต่อไฟฟ้าได้ดี และสังเคราะห์จากวัสดุทางธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนในการผลิต อย่างเช่นฟางข้าวได้ และใช้ร่วมกับ Chitosan เพื่อเสริมความคงทนให้กับขั้วไฟฟ้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Gold nanoparticles ที่มีความสามารถในการขยายสัญญาณสำหรับการตรวจวัดปริมาณกรดยูริก แผ่นขั้วไฟฟ้านี้จะออกมาในรูปแบบของ paper-based screen print ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากใช้ปริมาณตัวอย่างสำหรับการตรวจวัดน้อย และสามารถทราบผลการตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว ในขั้นตอนของการพัฒนาชุดตรวจนี้จะทดสอบหาอัตราส่วนระหว่าง Mesoporous carbon และ Chitosan ที่ให้ผลการตรวจวัดกรดยูริกถูกต้องแม่นยำมากที่สุดด้วยเทคนิค Cyclic voltammetry ร่วมกับวิเคราะห์ความสามารถเมื่อเทียบกับการใช้ Gold nanoparticlesก่อนจะนำไปทดสอบกับเหงื่อเทียม เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดทดสอบนี้