การปรับปรุงโครงสร้างถนนติดชายทะเลในประเทศไทยตามรูปแบบโครงสร้างถนนกรีกโรมันเดิมเพื่อลดอัตราการพังทลายของถนนร่วมกับแนวรับกันคลื่น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พันธุ์ธัช ปราการรัตน์, อภิเชฏ เลี่ยวไพโรจน์, โรสลิล เมฆทวีพงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาณุวัฒน์ จ้อยกลัด, นาอีม บินอิบรอเฮง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทย ประกอบด้วย ชายฝั่งอ่าวไทยและชายฝั่งอันดามันยาวรวมกันประมาณ 2,800 กิโลเมตร และมีจังหวัดถึง 23 จังหวัดจากทั้งหมด 77 จังหวัดในประเทศ ที่มีอาณาเขตติดกับทะเล มีเขตทางทะเล โดยรวมประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร กลุ่มจังหวัดภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัดประกอบด้วย กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี ซึ่งขนาบด้วยทะเลอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออกและทะเลอันดามันฝั่งตะวันตกมีเนื้อที่รวมประมาณ 70715.2 ตารางกิโลเมตร ขณะที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลนับเป็นฐานเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศเนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรจึงเป็นพื้นที่ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อาทิเช่น การประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การคมนาคม เป็นต้น

ชายฝั่งและชายหาดของพื้นที่บริเวณตามแนวชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออก กําลังประสบปัญหาการกัดเซาะและพังทลายอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ซึ่งมีการพัดทั้งโซเดียมและแคลเซียมซึ่งเป็นสารที่ทำให้ถนนเกิดการกร่อน โดยเฉพาะในหลายพื้นของกลุ่มจังหวัดกําลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงอาทิ บริเวณบ้านตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ ปากคลองสายสมอ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก บ้านตะโล๊ะสมิแล บ้านดาโตะ ตำบลแหลมโพธิ์ หาดตะโละกาโปร์ บ้านท่าพุง ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง หาดปะนาเระตำบลปะนาเระ ฯลฯ ซึ่งคิดเป็นชายฝั่งยาว 140.03 กิโลเมตร ครอบคลุมถึง 6 อำเภอโดยการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตกเฉียงใต้ ทําให้ชายฝั่งบริเวณอัตราการกัดเซาะมากกว่า 5 เมตรต่อปีและมีส่วนวิกฤตประมาณ 27.49 และเร่งดวน 11.86 ของพื้นที่ในจังหวัดซึ่งเป็นอาชีพที่ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน พื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลดังกล่าว รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของชุมชนและจังหวัด การคมนาคม

การใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการใช้รถยนต์หลากหลายประเภทบนท้องถนนเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ขับขี่ที่ใช้รถใช้ถนนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอันเนื่องมาจากการขับขี่รถที่มีน้ำหนักมาก ความเร็วสูงเกินกว่ามาตราฐานของถนนและจากการกัดเซาะของน้ำทะเล จึงทำให้ถนนเกิดความเสียหายก่อให้เกิดจราจรที่ช้าลงและมีอัตราการเพิ่มอุบัติเหตุบนท้องถนนมากขึ้น

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะพัฒนาการปรับปรุงโครงสร้างถนนติดชายทะเลในประเทศไทยตามรูปแบบโครงสร้างถนนกรีกโรมันเดิมเพื่อลดอัตราการพังทลายของถนนร่วมกับแนวรับกันคลื่นจากยางพารา