โปรแกรมวัดความสุกของอะโวคาโด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กรวุฒิ ศิริอนันตภัทร์, ปาราเมศ โชติพงค์, กิตติธัช ผิวนวล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชาคริต สมานรักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ของไทย ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหลายจังหวัดในไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งอะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาสูง จึงทำให้มีกระแสความต้องการของตลาดคนรักสุขภาพและความงาม

ในปัจจุบันมีการสูญเสียอะโวคาโดไปประมาณ 10-30% จากการทดสอบความสุกแบบทำลาย เนื่องจากผู้บริโภคยังไม่สามารถวัดความสุกของอะโวคาโดที่เหมาะสมแก่การรับประทานได้ จึงต้องทำให้มีการทดสอบความสุกของอะโวคาโด โดยวิธีที่ใช้ในปัจจุบันคือการวัดแรงที่กดโดยเครื่อง Uniaxial Pressing Machine ที่ทำให้อะโวคาโดสูญเสียสภาพ หรือ ถูกทำลาย อะโวคาโดที่เหมาะสมแก่การรับประทานจะมีค่า Force at the break อยู่ที่ 4.4-6.7 นิวตัน

พบว่าอะโวคาโดที่เหมาะแก่การรับประทานจะอยู่ในช่วงวันที่ 3 หลังจากการเก็บเกี่ยว จากการศึกษาพบว่ามีการใช้หากตรวจความถี่ธรรมชาติของอะโวคาโดจากการเคาะด้วยเครื่อง Laser Doppler Vibrometer จะสามารถทำนายจำนวนวันหลังการเก็บเกี่ยวได้แม่นยำ 90.7% เทียบกับวิธีแบบทำลาย

เนื่องจากเครื่อง Laser Doppler Vibrometer เป็นเครื่องมือที่มีความซับซ้อน ราคาแพงและไม่สามารถใช้ได้ทั่วไป การวัดความถี่ธรรมชาติของอะโวคาโดสามารถทำได้โดยใช้ไมโครโฟนเพื่อบันทึกเสียง และทำการหาความถี่ธรรมชาติของอะโวคาโดที่ความเข้มของเสียงสูงที่สุดได้ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นจากการใช้สมาร์ทโฟนรับเสียงและใช้โปรแกรม SPAN by Voxengo พบว่าความถี่ธรรมชาติของอะโวคาโดเปลี่ยนไปตามวันต่างๆ

จากการทดลองโดยใช้สมาร์ทโฟนรับเสียงและสามารถแยกแยะได้ ผู้ทำโครงงานจึงมีแนวคิดจะสร้างแอปพลิเคชั่นที่สามารถทำนายวันหลังการเก็บเกี่ยว หรือความสุกด้วยการเคาะอะโวคาโด เพื่อประกอบการตัดสินใจบริโภคอะโวคาโดได้โดยไม่ต้องทำลายอะโวคาโด ซึ่งหากโครงงานนี้ประสบความสำเร็จจะเป็นพื้นฐานองค์ความรู้ให้การพัฒนาการวัดความสุกของผลไม้ที่มีเปลือกแข็งได้ต่อไป เช่น ทุเรียน หรือ ขนุน ด้วยสมาร์ทโฟนต่อไป