การพัฒนาประสิทธิภาพของแผ่นยิปซัมโดยซิลิกาจากแกลบและเส้นใยผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริกุล สินศิริ, นัทธ์ชนัน คำโท
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิลาวัลย์ พรมชุม, วัชราภรณ์ แสนนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตแผ่นยิปซัมรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นประเทศผู้ส่งออกยิปซัมรายใหญ่ที่สุดในอาเซียนเช่นเดียวกัน จากการศึกษาตัวเลขการใช้แผ่นยิปซัม พบว่า ประเทศไทยใช้แผ่นยิปซัมเฉลี่ย 1.3 ตารางเมตรต่อคนต่อปี แต่แผ่นยิปซัมก็ยังมีข้อจ้ากัดในการใช้งานอยู่ คือ เมื่อแผ่นยิปซัมดูดซึมน้ำมากๆ อาจทำให้แผ่นยิปซัมเกิดรอยร้าว หัก เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ทำให้ต้องเปลี่ยนแผ่นยิปซัมใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทางคณะผู้จัดจึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุชีวภาพมาผสมกับซิลิกาจากแกลบ โดยเติมในลักษณะที่เป็นสารเติมแต่ง โดยนำเอาแกลบข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และลดมลภาวะ จากข้อมูล พบว่ามีปัญหาจากการกำจัดแกลบ ทำให้เกิดมลภาวะเนื่องจากแกลบที่เผาเป็นเถ้าลอย และผสมกับเส้นใยผักตบชวา ที่เป็นวัชพืช ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนที่พบว่ามีปริมาณเส้นใยค่อนข้างมากจะเป็นในส่วนของลำต้นมีลักษณะเหนียว แข็งแรง เหมาะกับการผลิตเป็นกระดาษขึ้นรูปเป็นแผ่นผนังบุภายในบ้าน เพื่อเสริมความแข็งแรง โดยทำการสกัดซิลิกาจากแกลบข้าว นำมาวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันซิลิกาด้วยเทคนิค FT-IR และนำมาผสมกับเส้นใยผักตบชวา จากนั้นขึ้นรูปแผ่นยิปซัมและนำมาทดสอบประสิทธิภาพ โดยทดสอบแรงกดจากเครื่อง UTM (Universal Testing Machine) ทดสอบการดูดซึมน้ำ ทดสอบแรงต้านการดึงตะปู ทดสอบการแอ่นตัว และนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับแผ่นยิปซัมตามท้องตลาดทั่วไป