การพัฒนาวัสดุกันกระแทกจากชานอ้อย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรเมธ ทรายคำ, วัศพล ภูมิคอนสาร, เบญจกูล พวงมะลิ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุณัฐชา โนจิตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
วัสดุที่เหลือจากชานอ้อยเป็นวัสดุที่เหลือจากอุตสาหกรรมการทำน้ำตาลเป็นจำนวนมาก บางส่วนถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงแต่ก็มีชานอ้อยอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ โครงงานนี้เป็นการต่อยอดจากงานวิจัยการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นกันกระแทกจากชานอ้อย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ การพัฒนาวัสดุกันกระแทกจากชานอ้อยโดยการนำไปแยกเส้นใยแล้วนำไปต้มเป็นเวลา 3 ชั่วโมงจากนั้นนำเส้นใยที่ได้มาทำความสะอาดและอบแห้งนำเส้นใยที่ผ่านการแยก 50 กรัม กระจายตัวในน้ำ1 ลิตรแลวนํามาปั่นให้เส้นใยกระจายตัว ขึ้นรูปด้วยวิธีการช้อนเอา เฉพาะเยื่อ นําไปตากให้แห้ง หลังจากนั้นนําแผ่น เส้นใยที่แห้งแล้วมาเคลือบด้วยน้ำยางพารา นํ้าไปอัดให้แน่นด้วยเครื่องพิมพ์ถ่ายโอนลวดลาย (Heat Transfer) แล้วนําไปอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 10 นาที