การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจสอบภาวะการขาดสารอาหารของกัญชาเเละกัญชงโดยดูจากลักษณะความผิดปกติของใบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนพนธ์ ไม่เสื่อมสุข
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กอบชัย ดวงรัตนเลิศ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กัญชา(Cannabis indica)เเละกัญชง(Cannabis sativa)เป็นพืชที่เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 เเต่ปัจจุบันสามารถปลูก
ได้อย่างถูกกฏหมายเเล้ว อย่างไรก็ตามกัญชาเเละกัญชงมีประโยชน์มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเเพทย์ ซึ่งหมายความว่ามีเเนวโน้มที่พืชชนิดนี้จะมี
อัตราการปลูกที่มากขึ้น โดยในการปลูก เกษตรกรควรจะคำนึงถึงปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพพืช
นั่นคือ ภาวะการขาดสารอาหาร โดยปัญหานี้สามารถสังเกตได้จาก
ลักษณะความผิดปกติของใบ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เชื่อว่าน่าจะมีความรู้ในด้านนี้ไม่มาก เเละการ
ใช้สายตาโดยตรงอาจจะมีประสิทธิภาพไม่มากพอเนื่องจากมนุษย์มีขีดจำกัดในด้านของการทำงาน
การตรวจสอบภาวะการขาดสารอาหารอาจจะถูกพัฒนาให้ดีขึ้น
หากมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นำมาปรับใช้ โดยจะนำชุดข้อมูลนำเข้าซึ่งเป็นรูปภาพ
จากอินเทอร์เน็ต เเต่ด้วยความที่รูปภาพนั้นหาได้ยากโดยเฉพาะภาพกัญชาเเละกัญชงที่มี
ภาวะการขาดสารอาหาร จึงมีการนำเทคนิคต่างๆมาปรับใช้ในโมเดลอย่างเช่น
Few-shot Learning, Metric Learning, เเละ K Nearest Neighbour
และจากการทดลองเบื้องต้นโดยใช้ VGG16 เป็น Encoder พบว่าโมเดล
มีค่า Area Under Curve(AUC) มากถึง 64.5%
โมเดลจะถูกนำไปพัฒนาต่อจนกลายเป็นเเอพลิเคชั่น
มือถือ (Mobile Application) เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเเอพลิเคชั่นจะนำภาพถ่ายใบกัญชาหรือกัญชงมาประมวล
ผลภาวะการขาดสารอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้เเละเเนะนำเเนวทางในการเเก้ไขกับปัญหาเหล่านี้อีกด้วย
ซึ่งนวัตกรรมนี้อาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบภาวะการขาดสารอาหารของพืช
ทำให้เกษตรกรสามารถเเก้ปัญหาเหล่านี้ได้รวดเร็วมากขึ้น จึงอาจจะก่อให้ผลิตภัณฑ์
ใหม่ๆ จากกัญชาเเละกัญชงที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเเพทย์