การศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดย เชื้อรา Aspergillus niger

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วนิดา กลิ่นเกษร, นิศานาถ มาราจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อารีรัตน์ ปั้นปล้อง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา ๓

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยเชื้อรา Aspergillus niger มีจุดประสงค์ศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรภายในชุมชน โดยเชื้อรา Aspergillus niger ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยเชื้อรา Aspergillus niger ของวัสดุทางการเกษตรคือใบข้าวโพดโดยเชื้อรา Aspergillus niger มีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือ ใบมันสำปะหลังและใบอ้อย ตามลำดับ และระดับความเข้มข้นของสารแขวนลอยสปอร์เชื้อรา Aspergillus niger ที่เหมาะสมมากที่สุดในการย่อยสลายคือระดับความเข้มข้นที่ 1x100 รองลงมาคือ 1x10-2 1x10-4 1x10-6 และ 1x10-8 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อระดับความเข้มข้นของสารแขวนลอยสปอร์เชื้อรา Aspergillus niger ลดลงประสิทธิภาพในการย่อยสลายก็จะลดลงตามลำดับ

การย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยเชื้อรา Aspergillus niger วิธีการใช้เอนไซม์ในการย่อยสลายจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงและไม่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตวิธีการย่อยสลายด้วยเอนไซม์จะเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากให้ปริมาณน้ำตาลที่มีปริมาณสูงจึงเหมาะแก่การนำมาผลิตเอทานอล อาหารสัตว์ ในการใช้เอนไซม์ในการย่อยสลายสายเซลลูโลสให้กลายเป็นน้ำตาล เนื่องจากเอนไซม์นั้นมีความจำเพาะในการทำปฏิกิริยาได้สูง เช่น เอนไซม์ cellulase จะย่อยเซลลูโลส (ชัชนันท์ และเฉลิม, 2555) ในธรรมชาติมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดสามารถสร้างเอนไซม์ย่อยสลายเซลลูโลสได้ เช่น สัตว์ทะเลในกลุ่มเพรียงหัวหอม หอยทากยักษ์ และจุลินทรีย์หลายชนิดทั้งที่เป็นเชื้อรา โพรโตซัว แบคทีเรีย แอคติโนมัยสิท จุลินทรีย์แต่ละชนิดที่สร้างเอนไซม์เซลลูเลสที่มีความสามารถในการย่อยลสายแตกต่างกัน ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมที่จุลินทรีย์เหล่านั้นเจริญอยู่ (ทิพวรรณ, 2553)