การศึกษาลักษณะการพังทะลายของเสากันคลื่นในทะเล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเสากันคลื่นทะเลจากจีโอโพลิเมอร์ผสมแบไรต์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิพัฒน์ หล่อรวมจิต, ณัฐพัชร์ รอดทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติสุดา สมนา, ขุนทอง คล้ายทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เสากันคลื่นในทะเลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดพลังงานคลื่นก่อนที่จะเข้าสู่ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล นำไปสู่การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งรายได้ และแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนริมชายฝั่งทะเล แต่เนื่องจากโครงสร้างของเสากันคลื่นทะเลในปัจจุบันไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลได้เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานเนื่องจากกการทำปฏิกิริยาระหว่างคอนกรีตและน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีจัยยทางชีวภาพอื่นๆ เช่นการเกาะอาศัยของเพรียงทำให้เกิดการสึกกร่อนของเสากันคลื่นและพังทะลายลงได้ โครงงานงานนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเสากันคลื่นในทะเลจากจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตผสมแร่แบไรต์ที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลได้ดีโดยไม่สึกกร่อน คณะผู้จัดทำจึงทำการศึกษารูปทรงที่เหมาะสมในการพัฒนาเสากันคลื่นผ่านโปรแกรม Unreal Engine 5 เมื่อได้รูปทรงที่เหมาะสมแล้วจึงทำการศึกษาอัตราส่วน จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน และบ่มทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องจากนั้นนำมาทดสอบกำลังอัด เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูปและนำไปทดสอบประสิทธิภาพของเสากันคลื่นทะเลในสภาพแวดล้อมทางทะเล