การพัฒนาก้อนปลูกที่ลดการใช้น้ำจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดร่วมกับเปลือกถั่วลิสง และขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพื่อใช้สำหรับปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภานิชา เจียมกิม, ชนิดาภา รักชีพ, ผาณิตา ดวงหะคลัง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดารณี ไชยเวช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ต้นอ่อนทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลูกได้ง่ายและหลายวิธี แต่การปลูกนั้นจะใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการขาดแคลนน้ำในปัจจุบันซึ่งปัญหาส่วนมากเกิดจากการทำเกษตร ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้ก้อนปลูก เหตุเพราะก้อนปลูกสามารถดูดซับน้ำได้จึงทำให้ลดการรดน้ำได้มากขึ้น และเนื่องจากปัจจุบันมีวัสดุทางธรรมชาติเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการพัฒนาก้อนปลูกที่ลดการใช้น้ำจากเส้นใยเปลือกข้าวโพด เปลือกถั่วลิสงและขี้เลื่อยไม้ยางพารา โดยมีกาวแป้งเปียกจากแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวเชื่อมประสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและพัฒนาก้อนปลูกจากเส้นใยเปลือกข้าวโพด เปลือกถั่วลิสง และขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งเริ่มจากการศึกษาอัตราส่วนของเส้นใยเปลือกข้าวโพด:เปลือกถั่วลิสง 5 อัตราส่วน ได้แก่ 0:100, 25:75, 50:50, 75:25 และ 100:0 และนำก้อนปลูกแต่ละอัตราส่วนมาใช้ปลูกต้นอ่อนทานตะวันเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านการเจริญเติบโตกับการปลูกลงดิน จากนั้นจึงทดสอบความหนาแน่น ร้อยละการสลายตัวในน้ำ และร้อยละการอุ้มน้ำของก้อนปลูก โดยคาดว่าจะเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นทางเลือกในการเพาะปลูกทานตะวัน ลดการใช้น้ำได้ดีกว่าปลูกพืชลงดิน และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและสะอาด