การศึกษาและการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซินต่อการติดผลของมะเขือเทศเชอรี่ในฤดูร้อน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรสุดา ดำรงศักดิ์, ชลดา ดวงสีแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อรทัย ล่ำสัน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
มะเขือเทศเชอรี่สีแดง(ราชินี) เป็นพืชที่มีประโยชน์มากและใช้เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปได้หลายอย่าง เป็นที่ต้องการมากทางการตลาด โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่มีผลผลิตของมะเขือเทศน้อย เพราะโดยปกติแล้วนั้นมะเขือเทศจะติดผลในช่วงฤดูหนาว ทำให้ในช่วงฤดูร้อนมีแต่ดอกแต่ไม่สามารถติดผลได้ ส่งผลให้มีราคาสูง เกษตรกรจึงต้องการขยายผลผลิตให้ได้มากขึ้นในช่วงฤดูร้อน
การการที่ได้ไปฝึกประสบการณ์พิเศษในช่วงปิดเทอมที่คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชา พฤษศาสตร์ ก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของพืชในทุกๆช่วง พพบว่ามีฮอร์โมนชนิดหนึ่งเรียกว่า ออกซิน มีคุณสมบัติในการเร่งราก ควบคุมการเจริญเติบโต แต่หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและตรงจุดก็จะสามารถช่วยในเรื่องการเพิ่มผลผลิตได้ซึ่งสารในกลุ่มออกซินมีหลายชนิด ดังนี้ NAA , 2-4-D และ 4-CPA
ในการทดลองได้นำฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซิน ทั้ง3ชนิด มาพ่นที่ดอกหลังดอกบานแล้ว1สัปดาห์ ในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน คือ 5ppm. 15ppm.และ25ppm. เพื่อมาเปรียบเทียบและศึกษาว่าฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซิน ชนิดไหนมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการติดผลของมะเขือเทศได้ดีกว่ากัน และใช้ในปริมาณความเข้มข้นเท่าไรจึงจะได้ผลดีที่สุด จากการทดลองพบว่าสาร 4-CPAสามารถช่วยให้ติดผลดีมากกว่า2-4-D กับNAA เล็กน้อยและพบว่าปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมแก่การติดผลที่สุดคือปริมาณความเข้มข้นที่25ppm.