ถุงเพาะชำจากเส้นใยผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อุมาพร มุสิกานนท์, มัลลิยา แจขจัด, มณฑิรา แจขจัด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จักรรินทร์ เณรจาที, สุณัฐชา โนจิตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ถุงเพาะชำจากเส้นใยผักตบชวา จัดทำขึ้นเพื่อต้องการนำผักตบชวาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในคลองบริเวณรอบโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ซึ่งพบว่าไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านใดเลย ทั้งยังเป็นมลพิษที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางน้ำ มาใช้เป็นวัสดุในการทำถุงเพาะชำแทนถุงเพาะชำที่ทำจากพลาสติก เพื่อเป็นการนำผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเพื่อช่วยลดการใช้ถุงเพาะชำที่ทำจากพลาสติก โดยมีขั้นตอนการทำโครงงานอย่างละเอียด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การทำกระดาษจากเส้นใยผักตบชวา
ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาหาวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นที่สามารถนำมาเพิ่มประสิทธิภาพของกระดาษผักตบชวา ในด้านความแข็งแรง คงทน และไม่เปื่อยยุ่ยง่ายเมื่อโดนน้ำ
ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบความสามารถในการยืดหยุ่นของกระดาษผักตบชวา
ขั้นตอนที่ 4 การนำกระดาษผักตบชวาที่ชุบด้วยน้ำต้มจากเปลือกไม้ของพืชตัวอย่างแต่ละชนิด ซึ่งเป็นวัสดุที่ธรรมชาติที่หามาได้ มาทำเป็นถุงเพาะชำ
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบความสามารถในการย่อยสลายของถุงเพาะชำ