การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร ในการยับยั้งเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Bipolaris oryzae ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภูเบศ เครือเพชร, รพี แหลมม่วง, สุดเขต บุญถาวร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย ชัยมณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งประเทศไทยส่งข้าวออกขายเป็นจำนวนมากในทุกๆปี จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการควบคุมโรคข้าว ซึ่งต้องมีการเอาใจใส่อย่างเป็นพิเศษ โดยโรครากเน่าในข้าว เป็นโรคที่เข้าทำลายส่วนโคนต้น ซึ่งจะทำให้ส่วนยอดของพืชเหี่ยวเฉาและแห้งตายในที่สุด โรครากเน่านี้เป็นโรคที่แพร่ระบาดไปได้ง่ายและรวดเร็วมาก อันเนื่องมากจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii และโรคข้าวอีกโรคหนึ่งที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตของเกษตรกร อย่างเห็นได้ชัด คือ โรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นโรคข้าวที่เกิดจากเชื้อ Bipolaris oryzae โรคนี้เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด และยังเกิดได้ตั้งแต่ช่วงข้าวเป็นต้นกล้าจนถึงช่วงออกรวงแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดแผลบนเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อสีข้าวสารจะหักง่าย ถูกกดราคา ในกรณีที่เป็นโรครุนแรงทำให้น้ำหนักเมล็ดลงลงประมาณ 20% ซึ่งทั้งสองโรคเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความเสียหายได้เป็นอย่างมาก
การใช้สารเคมีเพื่อควบคุมโรคจะมีผลโดยตรงต่อสุขอนามัยของผู้บริโภคและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
จึงต้องมีการพัฒนาสิ่งที่ทดแทนการใช้สารเคมี โดยการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรหรือสารธรรมชาติมาใช้ในการควบคุมโรค ไม่ส่งผลเยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารตกค้างในข้าว โดยมีพืชสมุนไพรมากมายที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้ เช่น กระเทียมโทน กระเทียมจีน ขิง ข่า ขมิ้น โดยการนำสมุนไพรมาพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกขึ้น เช่น การบดเป็นผงบรรจุแคปซูล เป็นต้น
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากกระเทียมจีน กระเทียมโทน ขิง และข่า ในการยับยั้ง Sclerotium rolfsii ซึ่งก่อให้เกิดโรครากเน่า และ Bipolaris oryzae ก่อให้เกิดโรคใบจุดสีน้ำตาล