การเปรียบเทียบชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

คุณาดา อินทรสังขนาวิน, เปมิกา จำปา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สาลามิหย๊ะ กิตติบุญญาทิวากร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในอดีตพริกไทยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดตรัง โดยพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเป็นพริกไทยป่าที่เกิดขึ้นและโตตามธรรมชาติบริเวณเทือกเขาบรรทัด ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จุดเด่นของพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนคือมีความเผ็ดร้อนเเละหอมมีเอกลักษณ์ แต่ปัจจุบันความต้องการบริโภคพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของตรังลดลง โดยหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อความนิยมในการบริโภคคือสารตกค้างจากการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพริกไทยและการปลูกพืชไม่หมุนเวียนทำให้ดินเสื่อมสภาพ ทางกลุ่มจึงศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรัง เพื่อแก้ปัญหาสารตกค้างจากปุ๋ยเคมีและเพิ่มคุณภาพในการผลิตพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองสู่การส่งออกตลาด โดยทำการทดลองวัดการเจริญเติบโตของต้นพริกไทยที่ใช้ปุ๋ยต่างชนิดกัน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เกษตรกรในพื้นที่เลือกใช้