การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเบสธรรมชาติสำหรับต้านการจับตัวของน้ำยางพารา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุทธิเกียรติ์ นิลสงวนเดชะ, เมธัส สุวรรณโณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

​เฉลิมขวัญ จันดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาประสิทธิภาพของเบสธรรมชาติ ได้แก่ น้ำขี้เถ้าลำไผ่ป่า น้ำขี้เถ้าเปลือกหอยแครง และน้ำขี้เถ้ากาบมะพร้าว สำหรับต้านการจับตัวของน้ำยาง และศึกษาสมบัติของน้ำยางพาราที่เติมเบส ได้ศึกษาโดยแบ่งการทดลองออกเป็นสามตอนคือ ตอนที่ 1 การเตรียมเบสธรรมชาติ ได้ทำการเผาวัสดุธรรมชาติ 3 ชนิดคือ กาบมะพร้าว ลำไผ่ป่า และเปลือกหอยแครง นำไปผสมน้ำในอัตราส่วนขี้เถ้าต่อน้ำเป็น 1:10 2:10 3:10 4:10 และ 5:10 วัดค่า pH จากการทดลองได้ผลว่าในปริมาณวัสดุเท่ากันเปลือกหอยแครงให้ขี้เถ้ามากที่สุด และน้ำขี้เถ้ากาบมะพร้าวมีค่า pH สูงสุด ตอนที่ 2 ตอนนี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของเบสธรรมชาติ โดยทำการใส่เบสธรรมชาติในอัตราส่วนต่างๆลงไปในน้ำยางพารา แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ได้แก่น้ำยางที่ไม่เติมเบสและน้ำยางที่เติมสารละลายแอมโมเนีย ผลการทดลองพบว่าน้ำขี้เถ้ากาบมะพร้าวต้านการจับตัวของน้ำยางได้พอๆกับสารละลายแอมโมเนีย และตอนที่ 3 ศึกษาคุณสมบัติ โดยศึกษาค่า pH %DRC และ%DRCเมื่อเติมกรด ของน้ำยางที่เติมเบสธรรมชาติ และเปรียบเทียบกับชุดควบคุมเช่นเดียวกับตอนที่ 2 พบว่าเมื่อใช่เบสธรรมชาติ ต่างชนิดกันก็จะทำให้คุณสมบัติของน้ำยางต่างกัน